• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ปูนปั้น

Menu

Show posts

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.

Show posts Menu

Topics - deam205

#2641



นายอเลฮานโดร โอโซริโอ กรรมการผู้จัดการใหญ่ แกร็บ ประเทศไทย เปิดเผยว่าได้ประกาศศึกสู้โควิดระลอก 4 ผนึกพันธมิตร "KBank-CRG-PTG" (ธนาคารกสิกรไทย (KBank) บริษัท เซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป จำกัด (CRG) บริษัท พีทีจี เอ็นเนอยี จํากัด (มหาชน) (PTG) และอีกหลายเครือข่ายพันธมิตร ผ่าน 4 กิจกรรมหลักซึ่งจะเริ่มต้นส.ค. ส่งโครงการ "สู้ไปด้วยกัน" เร่งสนับสนุนและให้ความช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติโควิด-19 ภายใต้งบประมาณรวมกว่า 160 ล้านบาท โดยเฉพาะกลุ่มผู้ประกอบการร้านอาหาร ผู้ป่วยที่แยกกักตัวที่บ้าน โรงพยาบาลและองค์กรการกุศล รวมถึงพาร์ทเนอร์คนขับ เพื่อมุ่งบรรเทาความเดือดร้อนให้คนไทย พร้อมเสริมสภาพคล่องทางการเงินให้กับผู้ประกอบการขนาดเล็กให้สามารถประคับประคองธุรกิจต่อไปได้ ทั้งนี้ 4 กิจกรรมหลักภายใต้โครงการ "สู้ไปด้วยกัน" ประกอบด้วย พร้อมใจสู้คู่ร้านค้า โดยแกร็บร่วมกับ KBank "ร่วมด้วย ช่วยเปย์" เพื่อเสริมสภาพคล่องทางการเงิน ควบคู่ไปกับการจัดโปรโมชั่นเพื่อกระตุ้นยอดขายและกระแสเงินสดหมุนเวียนให้กับธุรกิจร้านอาหาร มอบเงินสนับสนุนให้กับพาร์ทเนอร์ร้านค้าที่ใช้บัญชีกสิกรไทยในอัตรา 15% ของยอดขายในเดือน ส.ค. (จำกัดวงเงินสูงสุดไม่เกิน 3,000 บาทต่อร้าน) โดยติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทาง www.grabmerchantth.com/grabfood-kbank


เตรียมจัดแคมเปญ "ร่วมด้วย ช่วยเปย์" เพื่อมอบส่วนลดค่าอาหาร 50% เมื่อสั่งอาหารผ่าน GrabFood พร้อมช่วยโปรโมตร้านอาหารขนาดเล็กทั่วประเทศผ่านสื่อและแอพลิเคชั่น โดยติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้เร็วๆ นี้ พร้อมใจสู้คู่สังคมไทย: โดยแกร็บร่วมเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้ป่วย พร้อมส่งเสริมการบริจาคสมทบทุนโรงพยาบาลเพื่อสนับสนุนโครงการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับโรคโควิด-19ร่วมกับ CRG เพื่อช่วยจัดส่งอาหารจากแบรนด์ในเครือด้วยบริการ GrabExpress ให้กับผู้ป่วยที่กักตัวที่บ้านภายใต้การดูแลของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ นอกจากนี้ ยังได้มอบส่วนลดค่าบริการให้กับเครือข่ายช่วยเหลือสังคม อาทิ เพจเราต้องรอด และโรงพยาบาลศิริราช ในการจัดส่งอาหารหรือยาให้กับผู้ป่วย


นอกจากนี้ชวนผู้ใช้บริการเปลี่ยนคะแนน GrabRewards เป็นเงินบริจาคเพื่อสนับสนุนมูลนิธิของโรงพยาบาลต่างๆ อาทิ มูลนิธิรามาธิบดี โดยแกร็บจะร่วมสมทบทุนอีกเท่าตัวของยอดบริจาคทั้งหมดด้วย พร้อมใจสู้คู่พี่คนขับ: สร้างความอุ่นใจและพร้อมให้ความช่วยเหลือพาร์ทเนอร์คนขับที่ถือเป็นด่านหน้าในการให้บริการการเดินทางและการจัดส่งอาหาร-พัสดุผนึก PTG มอบสิทธิประโยชน์ในการเข้ารับบริการพ่นฆ่าเชื้อไวรัสโควิด-19 ให้กับพาร์ทเนอร์คนขับและผู้จัดส่งอาหารของแกร็บที่สถานีบริการปั๊มน้ำมันพีที 855 สาขาทั่วประเทศไทยตลอดเดือนสิงหาคมฟรี รวมไปถึงกล่องใส่อาหาร ร่วมกับ GQ Apparel ทยอยมอบหน้ากากผ้ารุ่น GQWhite™ Mask พร้อมลายสกรีน Vaccinated จำนวน 150,000 ชิ้นให้กับพาร์ทเนอร์คนขับที่ได้รับวัคซีนแล้ว พร้อมใจสู้คู่คนไทย: โดยการมอบส่วนลดค่าบริการส่งอาหารและพัสดุผ่าน GrabFood GrabMart และ GrabExpress เพื่อช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายให้กับผู้บริโภค ทั้งยังช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจและการจับจ่ายใช้สอยในช่วงไตรมาสที่ 3 ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคมถึง 19 กันยายน 2564 และมอบส่วนลดสูงสุด 80% สำหรับผู้ใช้ใหม่ (3 ครั้งต่อผู้ใช้) เพียงใส่โค้ด "WITHYOU80" มอบส่วนลดสูงสุด 30% สำหรับผู้ใช้เดิม (3 ครั้งต่อผู้ใช้) เพียงใส่โค้ด "WITHYOU30"
#2643



เมื่อเวลา 13.30 น. วันที่ 30 ก.ค. 2564 ในการแถลงสถานการณ์โควิด 19 นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรหวงสาธารณสุข(สธ.) กล่าวว่า ประเทศไทยมีการฉีดวัคซีนโควิด19 แล้ว 17,011,477 โดส เป็นเข็มที่ 1 จำนวน 13,225,233 ราย และครบ 2 เข็ม 3,786,244 ราย   ส่วนความครอบคลุม พื้นที่กทม,และปริมณฑล 44.20 % เฉพาะกทม. 61.67 % ส่วนของผู้สูงอายุได้รับวัคซีนแล้วประมาณ 70 %  แต่ในภูมิภาคฉีดได้เพียง 12 % เพราะวัคซีนมีจำนวนจำกัด ที่ผ่านมาจึงเกลี่ยมาให้หพื้นที่ระบาดอย่างกรุงเทพฯและปริมณฑลก่อน  แต่จากนี้ต่างจังหวัดจะได้รับวัคซีนมากขึ้น โดยในเดือนส.ค.ที่จะมีวัคซีน 10 ล้านโดสก็จะกระจายไปฉีดในต่างจังหวัดมากขึ้น เน้นกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป  ผู้ที่มีโรคประจำตัว 7 กลุ่มโรค และหญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุครรภ์เกิน 12 สัปดาห์ขึ้นไป จะได้วัคซีนก่อน จากนั้นเป็นอสม. และบุคลากรอื่นๆต่อไป 

      นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า  การฉีดวัคซีนในสูตรใหม่ คือ ซิโนแวคเข็มที่ 1 และ แอสตร้าเซนเนก้าเข็มที่ 2 โดยห่างกัน 3 สัปดาห์  ซึ่งจะทำให้ประสิทธิภาพใกล้เคียงกับสูตรเดิมแต่ฉีดครบ 2 เข้มเร็วขึ้นจาก 12 สัปดาห์เหลือเพียง 3 สัปดาห์ ซึ่งจากที่มีการดำเนินการมาระยะหนึ่งแล้วนั้น ในแง่ความปลอดภัยและอาการไม่พึงประสงค์หลังการรับวัคซีนไม่ได้แตกต่างจากการฉีดแบบสูตรเดิม จึงมีประสิทธิภาพและความปลอดภัยอยู่ในระดับที่น่าพึงพอใจ

      "ส่วนการกระจายวัคซีนเดือนส.ค. ช่สงกระจาจวัครซีนเดือนส.ค.จะกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น หลังจากที่เดือนมิ.ย.- ก.ค.กระจายในกทม.ปริมณฑลค่อนข้างมากเพื่อควบคุมการระบาดของโรค โดยมีเป้าหมายฉีดให้กับกลุ่มเสี่ยง รวมถึง อสม.เป็นหลัก จากนั้นส่วนหนึ่งจะใช้ควบคุมการระบาดในพื้นที่ระบาดเป็นจุดๆไป และฉีดในกลุ่มเป้าหมายพิเศษ เช่น พื้นที่ท่องเที่ยง อาทิ พังงา กระบี่ เป็นต้น"นพ.โอภาสกล่าว  

  นพ.โอภาส  กล่าวอีกว่า สำหรับวัคซีนไฟเซอร์ซึ่งได้รับบริจาคจากประเทศสหรัฐอเมริกาจำนวน 1.5 ล้านโดสและส่งมาถึงประเทศไทยแล้วนั้น  จะฉีดใช้ให้ 4 กลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย 

     กลุ่มที่ 1  บุคลากรการแพทย์และสาธารณสุข ที่ดูแลผู้ป่วยโควิด19ทั่วประเทศ เป็นเข็มที่ 3 เพื่อกระตุ้นภูมิค้มกัน จำนวน 7 แสนโดส   ซึ่งได้มีการสำรวจรายชื่อจากรพ.ต่างๆส่งมา จากนั้นสธ.จะกระจายวัคซีนไปรพ.เป้าหมายต่างๆ เพื่อฉีดให้บุคลากรสาธารณสุขมีภูมิคุ้มกันมากขึ้น

กลุ่มที่ 2 ฉีดในผู้สูงอายุ  ผู้ที่มี 7 กลุ่มโรคเรื้อรัง  หญิงตั้งครรภ์ที่อายุครรภ์เกิน 12 สัปดาห์ แต่เนื่องจากวัคซีนไฟเซอร์สามารถรฉีดในเด็กอายุ 12 ปีขึ้นไปได้ด้วย เพราะฉะนั้นจะมีการฉีดให้กลับเด็กที่มีอายุ 12 ขึ้นไปและป่วยใน 7 กลุ่มโรคเรื้อรังจะได้รับวัคซีนนี้ด้วย ซึ่งจะมีการกระจายไปใน 13 จังหวัดพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด คือ กรุงเทพฯ สมุทรปราการ ปทุมธานี นนทบุรี นครปฐม สมุทรสาคร ฉะเชิงเทรา ชลบุรี พระนครศรีอยุธยา สงขลา ปัตตานี ยะลาและนราธิวาส จำนวน 645,000 โดส

กลุ่มที่ 3 ชาวต่างชาติที่อาศัยในประเทศไทย โดยเป็น ผู้ที่มี 7 กลุ่มโรคเรื้อรัง  หญิงตั้งครรภ์ที่อายุครรภ์เกิน 12 สัปดาห์ และคนไทยผู้ที่จะเดินทางไปต่างประเทศที่จำเป็นต้องฉีดวัคซีนไฟเซอร์ เช่น นักเรียน  นักศึกษา เป็นต้น จำนวน 150,000 โดส

และกลุ่มที่ 4  ทำการศึกษาวิจัย โดยการอนุมัติของคณะกรรมการวิจัยจริยธรรม เพื่อนำผลการวิจัยมาใช้ในการกำหนดนโยบายต่อไป จำนวน 5,000 โดส   

 
สรุปไทม์ไลน์ 'วัคซีนโควิด-19' อย่าง 'วัคซีนไฟเซอร์' 1.5 ล้านโดส ได้ฉีดเมื่อไหร่
  "วัคซีนไฟเซอร์ที่ส่งมาเป็นวัคซีนเข้มข้น ต้องมีการผสมด้วยน้ำเกลือก่อนนำไปฉีด เป็นวัคซีนที่ใน 1 ขวดผสมแล้วฉีดได้ 6 โดส  โดยวัคซีนไฟเซอร์กำหนดให้ฉีดโดสละ 0.3 มิลลิลิตรเข้าชั้นกล้ามเนื้อ โดยฉีดห่างกัน 3 สัปดาห์ สามารถเก็บในอุณหภูมิ -90 ถึง -70 องศาเซลเซียสได้นาน 6 เดือน และเก็บในอุณหภูมิตู้เย็น 2-8 องศาเซลเซียสได้ 1 เดือน เพราะฉะนั้นต้องวางแผนอย่างดีในการบริหารจัดการการกระจายและการฉีดวัคซีน ทั้งการนัดหมายวันเวลาที่จะมาฉีด เนื่องจากเก็บรักษาในตู้เย็นธรรมดาได้แค่ 1 เดือน"นพ.โอภาสกล่าว   

       นพ.โอภาส กล่าวด้วยว่า ไทม์ไลน์วัคซีนไฟเซอร์ 1.5 ล้านโดส  คือ 30 ก.ค. 2564 วัคซีนล้อตบริจาคถึงประเทศไทย จัดเก็บที่คลังวัคซีนที่ -70 องศาเซลเซียส ของบริษัทซิลลิค ฟาร์มา(ประเทศไทย) จำกัด และส่งตัวอย่างตรวจสอบคุณภาพและความปลอดภัยที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ 2 ส.ค.คาดว่าจะได้รับผลตรวจสอบคุณภาพและความปลอดภัย วันที่ 3-4 ส.ค. บริษัทจัดทำระบบตรวจสอบย้อนกลับ แพ็ควัคซีนเพื่อจัดส่ง 5-6 ส.ค.จัดส่งวัคซีนล็อตแรกเข็มกระตุ้นสำหรับบุคลากรทางการแพทย์และเข็ม 1 สำหรับกลุ่มเสี่ยงเป้าหมายถึงหน่วยบริการ วันที่ 7-8 ส.ค. รพ.เตรียมความพร้อมการฉีดวัคซีน โดยรพ.ต้องนัดหมายคนมาฉีด ควบคุมเวลาอย่างดี เพราะเอาออกจากตู้เย็นแล้วจะอยู่ได้ไม่นาน เพราะฉะนั้นความแม่นยำในการนัดหมายต้องเป็นอย่างดี ไม่เช่นนั้นวัคซีนจะเสียหาย  วันที่ 9 ส.ค. หน่วยบริการเริ่มฉีดวัคซีน และกลางเดือนส.ค.2564 จัดส่งวัคซีนเข็ม 2 สำหรับฉีดปลายเดือนส.ค.2564  คาดว่าจะเสร็จสิ้นในเดือนส.ค. 2564
#2644



รายงานข่าวจากศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี ธนาคารทหารไทยธนชาต เปิดเผยว่า ยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในไทยยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งมาจากคลัสเตอร์โรงงานและไม่ได้พบในจังหวัดสีแดงเข้มเท่านั้น แต่ยังมีจังหวัดอื่น ๆ ด้วย ทำให้คาดว่าหากไม่สามารถควบคุมคลัสเตอร์โรงงานได้ จะทำให้การผลิตหยุดมากกว่า 2 สัปดาห์จะเกิดความเสียหาย 1.9 แสนล้านบาท และกระทบต่อการส่งออกไทยปี 64 อาจทำได้เพียง 6.8% แต่ถ้าควบคุมการระบาดได้เร็วจะทำให้ส่งออกไปขยายตัวที่ 9.4%

ทั้งนี้จากข้อมูลกรมอนามัย ตั้งแต่เดือนเม.ย.-ก.ค. 64 มีโรงงานติดเชื้อสะสมมากถึง 1,607 โรงงาน เป็นโรงงานขนาดใหญ่ 67% ซึ่งมีแรงงานจำนวนมาก โดยเป็นทั้งโรงงานผลิตเพื่อใช้ภายในประเทศและป้อนตลาดต่างประเทศ คลัสเตอร์โรงงานจึงเป็นคลัสเตอร์ใหญ่นอกเหนือไปจากแคมป์ก่อสร้าง และส่วนใหญ่เป็นโรงงานใน 5 กลุ่มอุตสาหกรรมสำคัญ ได้แก่ อุตสาหกรรมอาหาร อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า ยานยนต์และชิ้นส่วน ผลิตภัณฑ์ยางพารา และผลิตภัณฑ์สิ่งทอ

ขณะที่ในไทยมีโรงงานใน 5 กลุ่มอุตสาหกรรมนี้มากถึง 11,637 แห่ง มีแรงงาน 1.96 ล้านคน และมูลค่าตลาดต่อปีเท่ากับ  8.87  ล้านล้านบาท มีสัดส่วนส่งออกกว่า 57%  และจากการที่เป็นอุตสาหกรรมที่มีการใช้แรงงานค่อนข้างมาก เมื่อมีผู้ติดเชื้อจึงมีโอกาสที่จะเกิดการแพร่กระจายสูง นำมาซึ่งการใช้มาตรการปิดโรงงานหยุดกระบวนการผลิตชั่วคราว


รายงานข่าว ระบุ การปิดคลัสเตอร์โรงงาน 5 กลุ่มอุตสาหกรรมเป็นเวลา 2 สัปดาห์เพื่อควบคุมการระบาดจะก่อให้เกิดการสูญเสียมูลค่า 3.5 แสนล้านบาทหรือคิดเป็น 4% ของมูลค่าตลาด โดยอุปทานสินค้าป้อนตลาดจากโรงงานในอุตสาหกรรมอาหาร ยานยนต์ ยางพาราและพลาสติก จะได้รับผลกระทบจากการปิดโรงงานเร็วที่สุด เพราะมีสินค้าคงคลังน้อยกว่าช่วงปกติ ดังนั้น หากไม่สามารถควบคุมการระบาดคลัสเตอร์โรงงานได้ ภาครัฐต้องมีการล็อกดาวน์โรงงานเพิ่มขึ้น หรือขยายระยะเวลาปิดโรงงานออกไป จะส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกที่เป็นเครื่องยนต์หลักในการฟื้นเศรษฐกิจครั้งนี้ 

นอกจากนี้ สินค้าส่งออกทั้ง 5 กลุ่มอุตสาหกรรม ยังมีปัจจัยเสี่ยงจากเศรษฐกิจอาเซียนได้รับผลกระทบจากที่ต้องเจอยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 ใหม่เพิ่มสูงขึ้นมาก โดยเฉพาะอินโดนีเซีย มาเลเซีย และเวียดนาม ทำให้กลับมาใช้มาตรการล็อกดาวน์ทั้งประเทศ ซึ่งส่งผลต่อความต้องการสินค้าส่งออกจากไทยในช่วงครึ่งปีหลัง โดยการส่งออกใน 5 กลุ่มอุตสาหกรรม  คิดเป็น 2 ใน 3 ของมูลค่าการส่งออกไปตลาดอาเซียนซึ่งในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้มีมูลค่ากว่า 1 ล้านล้านบาท
#2645



31 ก.ค.2564 นายธนกร วังบุญคงชนะ เลขานุการรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 (ศบศ.) กล่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม มีความห่วงใยพี่น้องประชาชนทุกคน  จึงได้สั่งการให้เร่งรัดขยับเวลาการจ่ายเงินเยียวยาประกันสังคม ให้กับผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 10 จังหวัด ใน 9 ประเภทกิจการที่ได้รับผลกระทบจากการปิดกิจการ

โดยจะเริ่มทยอยจ่ายตั้งแต่วันที่ 4 สิงหาคมนี้  ซึ่งผู้ประกันตนมาตรา 33 ที่ได้รับเยียวยาจากรัฐบาลคนละ 2,500 บาท จะโอนผ่านบัญชีพร้อมเพย์เลขประจำตัวประชาชนเท่านั้น ซึ่งสามารถดำเนินการได้วันละ 1 ล้านบัญชี  จากผู้ประกันตนที่มีสิทธิได้รับเงินเยียวยามีจำนวน 2.87 ล้านคน ส่วนนายจ้างจะได้รับการเยียวยาจากรัฐบาล ตามจำนวนลูกจ้าง หัวละ 3,000 บาท สูงสุดลูกจ้างไม่เกิน 200 คน สำหรับนายจ้างบุคคลธรรมดา จะโอนเงินผ่านบัญชีพร้อมเพย์เลขประจำตัวประชาชนเช่นกัน และนายจ้างสถานะนิติบุคคล จะโอนเข้าบัญชีธนาคารตามชื่อนิติบุคคลนายจ้าง ทุกๆ วันศุกร์ จนถึงวันที่ 29 ตุลาคม 2564
             

ประกันโควิด เจอ จ่าย จบ! รับเลย 100,000 บาท
โฆษก ศบศ. ยังกล่าวถึงการที่รัฐบาลได้ออกมาตรการเยียวยาและการฟื้นฟูเศรษฐกิจในประเทศ ทั้งโครงการคนละครึ่ง เฟส 3 เพิ่มกำลังซื้อในบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ โครงการยิ่งใช้ยิ่งได้ และโครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ ที่เปิดให้ประชาชนใช้สิทธิล่าสุดไปเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2564 หลังผ่านมา 1 เดือน

ปรากฎว่ายอดการใช้จ่ายของแต่ละโครงการมีผู้ใช้สิทธิสะสมรวม 36.89 ล้านคน มียอดใช้จ่ายสะสม รวม 49,884.3 ล้านบาท แบ่งเป็น 1) โครงการคนละครึ่ง เฟส 3 มีผู้ใช้สิทธิสะสม 22.74 ล้านคน ยอดใช้จ่ายสะสม 46,317.4 ล้านบาท

แบ่งเป็นส่วนที่ประชาชนจ่ายสะสม 23,455.6 ล้านบาท และรัฐร่วมจ่ายสะสม 22,861.8 ล้านบาท  2) โครงการยิ่งใช้ยิ่งได้ มีผู้ใช้สิทธิสะสม 59,284 คน ยอดใช้จ่ายสะสม 758.3 ล้านบาท  3) โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ มีผู้ใช้สิทธิสะสม 13.26 ล้านคน ยอดใช้จ่ายสะสม 2,644.8 ล้านบาท และ 4) โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ มีผู้ใช้สิทธิสะสม 826,684 คน ยอดใช้จ่ายสะสม 163.8 ล้านบาท
             
นายธนกร กล่าวว่า ทั้งนี้จากการประเมินพบว่าประชาชนทั่วประเทศ ยังมีการใช้จ่ายผ่านโครงการต่างๆอย่างต่อเนื่อง มีการปรับปรุงรายละเอียดของบางโครงการ เช่น โครงการยิ่งใช้ยิ่งได้ โดยขยายระยะเวลาการซื้อสินค้าหรือบริการที่จะได้รับ e-Voucher ถึงวันที่ 31 พฤศจิกายน 2564 เพิ่มวงเงินการใช้จ่ายสูงสุดที่จะนำมาคำนวณ e-Voucher สูงสุดไม่เกิน 10,000 บาทต่อคนต่อวัน และปรับลดจำนวนกลุ่มเป้าหมายของโครงการฯ เป็น 1.4 ล้านสิทธิ เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19

และขณะนี้กระทรวงการคลังได้กำชับให้ธนาคารกรุงไทย เร่งดำเนินการปรับปรุงระบบการใช้จ่ายเงินในโครงการ "คนละครึ่ง" ให้สามารถเชื่อมกับระบบของผู้ให้บริการแพลตฟอร์มฟู้ดเดลิเวอรี่ เพื่อให้สามารถใช้จ่ายเงินได้อย่างถูกต้องและเป็นไปตามเงื่อนไขของโครงการ

โดยคาดว่าจะดำเนินการเชื่อมระบบเสร็จสิ้นและพร้อมใช้งานได้ในเดือนตุลาคม 2564 นี้ เพื่อรองรับการใช้จ่ายหลังกระทรวงการคลังโอนเงิน "คนละครึ่ง" รอบ 2 อีก 1,500 บาทเข้าแอปพลิเคชั่นเป๋าตัง ซึ่งประชาชนสามารถใช้จ่ายได้ถึงสิ้นปี 2564 ส่วนยอดการลงทะเบียนล่าสุดของวันที่ 30 ก.ค. 2564 โครงการคนละครึ่งมีการลงทะเบียนแล้ว 29.9 ล้านคน เหลืออีก 1.1 ล้านคน จะครบ 31 ล้านคน

และโครงการยิ่งใช้ยิ่งได้ที่ปรับลดเหลือ 1.4 ล้านสิทธิ ขณะนี้เหลืออีก 937,338 สิทธิ โดยประชาชนสามารถใช้จ่ายในโครงการต่างๆ ได้จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564 ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นมาตรการเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนควบคู่ไปกับการดำเนินการป้องกันและรักษาผู้ติดเชื้ออย่างเต็มที่ตามเจตนารมณ์ของนายกรัฐมนตรี
#2646



ฝ่ายประชาสัมพันธ์กรมทางหลวง (ทล.) แจ้งว่า ตามที่ นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม  มอบนโยบายด้านโครงสร้างพื้นฐานทางถนนให้ขยายทางหลวงหมายเลข 118 เชียงใหม่-เชียงราย เป็นถนนมาตรฐานขนาด 4 ช่องจราจร ไป-กลับ ตลอดเส้นทาง 158.473 กม. จากเดิมมีขนาด 2 ช่อง ไป-กลับ เพื่อเสริมสร้างโครงข่ายทางหลวงพื้นที่ภาคเหนือให้สมบูรณ์ 

ที่ผ่านมา ทล. ขยายทางหลวงสายดังกล่าวเป็น 4 ช่อง แล้วเสร็จ 48 กม. และได้ดำเนินโครงการก่อสร้างเป็น 4 ช่อง อีกระยะทาง 42.8 กม. ช่วง อ.ดอยสะเก็ด-ต.แม่ขะจาน ระหว่าง กม.20+200-กม.63+000 ซึ่งขณะนี้เหลือเพียง ตอน อ.ดอยสะเก็ด-ต.ป่าเมี่ยง ตอน 1 ระหว่าง กม.20+200-กม.31+700  ระยะทาง 11.5 กม. ขณะนี้มีความคืบหน้าไปแล้วกว่า 93% คาดว่าจะแล้วเสร็จเดือน ก.ย.นี้ จะทำให้เพิ่มระยะทางเป็น 4 ช่องรวม 91 กม. ทั้งนี้มีบางช่วงที่ดำเนินการแล้วเสร็จและเปิดให้ใช้บริการ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนผู้ใช้เส้นทางไปแล้ว 


ส่วนที่เหลืออีก 67.473 กม. ที่ยังเป็น 2 ช่องอยู่ และเป็นช่วงสุดท้ายโดยอยู่ในพื้นที่ ต.บ้านโป่ง-บรรจบทางหลวงหมายเลข 1 (พหลโยธิน) ระหว่าง กม.91+000 กม.158+473 เนื่องจากสภาพเส้นทางมีลักษณะคดเคี้ยว  เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง  จำเป็นต้องปรับปรุงให้เป็นทางหลวงขนาด 4 ช่องตลอดเส้นทาง เพื่อให้ประชาชนได้รับความสะดวก ปลอดภัยในการเดินทาง  ยกระดับความปลอดภัยด้านคมนาคมขนส่ง และรองรับปริมาณการจราจรและการขยายตัวทางเศรษฐกิจพื้นที่ภาคเหนือกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาค และประเทศเพื่อนบ้านโดยเฉพาะภาคการขนส่งและการท่องเที่ยว 


ทั้งนี้ ทล. จึงเร่งดำเนินโครงการสำรวจและออกแบบทางหลวงหมายเลข 118 (สายเชียงใหม่-เชียงราย) แบ่งเป็น 2 ตอน คือ 1.ตอน บ.แม่เจดีย์-อ.แม่สรวย 50 กม. อยู่ระหว่างการเก็บข้อมูลสำรวจผลกระทบสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ เพื่อศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) และจัดทำรายงาน EIA เสนอสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) หากผ่านการพิจารณาแล้วโครงการจะมีความพร้อมเพื่อเสนอของบประมาณดำเนินการก่อสร้าง คาดว่าจะเริ่มดำเนินการได้ประมาณ ปี 67 แล้วเสร็จปี 69 


และ 2.ตอน อ.แม่สรวย-แยกจุดตัดทางหลวงหมายเลข 1 จ.เชียงราย 17.473 กม. กำลังเสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณจากแหล่งเงินกู้ (เพิ่มเติม) อยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ และหากได้รับงบประมาณจะเร่งรัดให้แล้วเสร็จโดยเร็วต่อไป  โดยใช้งบประมาณโครงการ  2,000 ล้านบาท  คาดว่าเริ่มดำเนินการได้ประมาณปี 65 แล้วเสร็จปี 67 

สำหรับโครงการ ตอน อ.แม่สรวย-แยกจุดตัดทางหลวงหมายเลข 1 จ.เชียงราย มีจุดเริ่มต้นบริเวณ กม.141+000 ท้องที่ ต.แม่สรวย สิ้นสุดที่จุดตัดทางหลวงหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธินบริเวณ กม.910+123) ที่ กม.158+473 ต.ดงมะดะ ครอบคลุมพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อ.แม่สรวย  อ.แม่ลาว และ  3 ตำบล ได้แก่ ต.แม่สรวย ต.ดงมะดะ ต.จอมหมอกแก้ว รูปแบบการก่อสร้างเป็นถนนคอนกรีตขนาด  4 ช่อง ความกว้างช่องจราจรละ 3.50 เมตร ไหล่ทางกว้างข้างละ 2.50 เมตร แบ่งทิศทางการจราจรด้วยแบริเออร์คอนกรีตกว้าง 1.60 เมตร  


มีรูปแบบทางแยก 4 จุดตัด ดังนี้ 1.จุดตัดทางหลวงชนบทหมายเลข ชร.2113 (กม.146+994) ออกแบบเส้นทางสายหลักทางหลวงหมายเลข 118 เป็นสะพานยกระดับ ลดการตัดกระแสของการจราจรบริเวณทางแยกและมีการจัดการทางแยกระดับพื้นดินในลักษณะวงเวียน ออกแบบทางขนานเพื่อแยกการจราจรระหว่างการเดินทางในพื้นที่กับถนนสายหลัก และกำหนดจุดกลับรถใต้สะพานสำหรับความสูงไม่เกิน 5.50 เมตร 2.จุดตัดทางหลวงหมายเลข 1211 (กม.154+647) ออกแบบเส้นทางสายหลักทางหลวงหมายเลข 118 เป็นสะพานยกระดับ ลดการตัดกระแสของจราจรบริเวณทางแยกและมีการจัดการทางแยกระดับพื้นดินในลักษณะวงเวียน ออกแบบทางขนานเพื่อแยกการจราจรระหว่างการเดินทางในพื้นที่กับถนนสายหลัก และกำหนดจุดกลับรถใต้สะพานสำหรับความสูงไม่เกิน 5.50 เมตร 


3.จุดตัดถนนเลียบคลองชลประทาน (กม.156+500) โดยรื้อสะพานข้ามคลองชลประทาน บนเส้นทางสายหลักทางหลวงหมายเลข 118 ในปัจจุบันออก เพื่อออกแบบเป็นสะพานยกระดับข้ามคลองชลประทาน โดยออกแบบทางขนานเพื่อเชื่อมต่อการเดินทางในพื้นที่ และแยกกระแสจราจรของรถที่ใช้ความเร็วออกจากกันเพื่อความปลอดภัยบริเวณใต้สะพานออกแบบจัดการจราจรเป็นระบบวงเวียนของถนนเลียบคลองชลประทานทั้ง 2 ฝั่ง และกำหนดจุดกลับรถใต้สะพานสำหรับความสูงไม่เกิน 4.50 เมตร 


และ 4.จุดตัดถนนทางหลวงหมายเลข 1 ที่ กม.158+473 แนวเส้นทางตัดกับทางหลวงหมายเลข 1  ที่ กม.910+123 และเป็นจุดสิ้นสุดของโครงการ  สภาพพื้นที่ในปัจจุบันเป็น 3 แยกสัญญาณไฟแบบ channelize แต่เนื่องจากเป็นทางแยกหลักที่เชื่อมโยงระหว่าง 3 จังหวัด ได้แก่ จ.เชียงราย เชียงใหม่ และพะเยา ซึ่งปริมาณจราจรที่ผ่านจุดตัดนี้มีปริมาณเพิ่มขึ้นทุกปี ทำให้จำเป็นต้องพิจารณาออกแบบปรับปรุง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของทางแยกให้มีความคล่องตัวมากยิ่งขึ้น 

โดยออกแบบทางยกระดับข้ามทางแยก 1 ทิศทาง บนทางหลวงหมายเลข 1 ฝั่งมุ่งหน้าจาก จ.พะเยา ไปตัวเมืองเชียงราย พร้อมทางขนานทางยกระดับ ทิศทางมุ่งหน้าจากตัวเมืองเชียงรายไป จ.พะเยา จะขยายถนนระดับพื้นดิน จากเดิม 2 ช่อง เป็น 4 ช่อง โดยออกแบบเกาะกลางรูปปีกนกสำหรับแบ่งรถในทิศทางตรงให้สามารถผ่านทางแยกได้คล่องตัว ไม่ต้องติดสัญญาณไฟจราจร ส่วนทิศทางเลี้ยวขวาเข้า-ออก จากทางหลวงหมายเลข 118 จะถูกควบคุมด้วยสัญญาณไฟจราจร ทำให้ลดการตัดกระแสจราจรบริเวณทางแยกและทำให้การจราจรบนทางหลวงหมายเลข 1 เกิดความคล่องตัว  


เมื่อโครงการดังกล่าวแล้วเสร็จจะช่วยเติมเต็มโครงข่ายระบบคมนาคมขนส่งทางหลวงหมายเลข 118 ให้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ช่วยลดอุบัติเหตุ ช่วยเพิ่มขีดความสามารถรองรับปริมาณการจราจรที่มากขึ้นจากเดิม 1-1.8 หมื่นคันต่อวัน เป็น 3 หมื่นคันต่อวัน ช่วยลดระยะเวลาการเดินทางระหว่าง จ.เชียงใหม่ และ จ.เชียงราย จากเดิมที่ใช้เวลาประมาณ 4 ชม. ลดลงเหลือ 3 ชม. ยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยในการเดินทางของประชาชนให้สะดวกรวดเร็ว ช่วยส่งเสริมด้านเศรษฐกิจการค้า การท่องเที่ยว จ.เชียงราย และเกิดโครงข่ายคมนาคมขนส่งในพื้นที่ภาคเหนือไปยังประเทศเพื่อนบ้าน
#2647



บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) ประกาศเข้าร่วมลงทุน ในบริษัท PT Chandra Asri Petrochemical Tbk ("CAP") ประเทศอินโดนีเซียผ่านบริษัทย่อยที่จัดตั้งขึ้นใหม่ PT TOP Investment Indonesia โดยเข้าถือหุ้น CAP ที่สัดส่วนร้อยละ 15.38 ใช้เงินลงทุนมูลค่ารวมไม่เกิน 1,183 ล้านดอลลารร์สหรัฐฯ หรือ 39,116ล้านบาท เพื่อก้าวเข้าสู่ธุรกิจโอเลฟินส์ โดย CAP มีแผนขยายกำลังการผลิตและก่อสร้างโรงงานปิโตรเคมีแห่งที่ 2( CAP2)ปัจจุบัน CAP เป็นผู้ผลิตปิโตรเคมีชั้นนำรายใหญ่ที่สุดในประเทศอินโดนีเซียเป็นผู้ดำเนินกิจการโรงงานแยกแนฟทา (Naphtha Cracker) เพียงแห่งเดียวของประเทศ มีกำลังการผลิตเอทิลีน (ethylene) ประมาณ 900,000 เมตริกตันต่อปี และพอลิโอเลฟินส์ (Polyolefins) ที่มีคุณภาพสูง อีกทั้งยังเป็นผู้ผลิตสไตรีนโมโนเมอร์ (SM) และบิวทาไดอีน (BD) และจะดำเนินการขยายกำลังการผลิตและก่อสร้างโรงงานปิโตรเคมีแห่งที่ 2(CAP2)​ ซึ่งจะทำให้มีกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากเดิมอีกเท่าตัวหรือ2ล้านตันกำหนดแล้วเสร็จในปี2569

นายวิรัตน์ เอื้อนฤมิต ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่าการลงทุนในครั้งนี้นับเป็นก้าวสำคัญของไทยออยล์ในการเดินหน้าสู่อุตสาหกรรมปิโตรเคมีสายโอเลฟินส์ จากเดิมที่มีธุรกิจสายอะโรเมติกส์อยู่แล้ว ซึ่งจะทำให้โครงสร้างธุรกิจของไทยออยล์มีความสมบูรณ์ครอบคลุมธุรกิจปิโตรเลียมและปิโตรเคมีอย่างครบวงจร และCAP2สามารถรองรับแนฟทาและแอลพีจีจากโครงการ CFP ของไทยออยล์ที่กำลังลงทุนราว 5,000 ล้านเหรียญสหรัฐ​ขยายกำลังกลั่นจาก2.75แสนเป็น4แสนบาร์เรล​ต่อวัน ยอมรับว่าผลกระทบจากโควิด-19 กระทบงานCFPทำให้สร้างได้ต่ำกว่าแผนแต่จะพยายามเร่งให้แล้วเสร็จ​ในปี 2566 ซึ่งจากการร่วมทุนกับอินโดนีเซียครั้งนี้ก็ทำให้ไทนออยล์​ไม่ต้องลงทุนสร้างโอเลฟินส์​เองแต่อย่างใดและคาดว่าจะเริ่มรับรู้รายได้เบื้องต้น 40-50 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี โดย CAP มีการประกาศผลกำไรครึ่งแรกปี64ที่ราว 165 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

โดยการร่วมทุนเกิดประโยชน์หลายด้าน ทั้งการได้ร่วมเป็นพันธมิตรทางธุรกิจกับบริษัท CAP และบริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด ถือเป็นการผนึกกำลังครั้งสำคัญระหว่างผู้ประกอบการในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมีที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญ อีกทั้งยังเป็นการเปิดโอกาสให้เกิดความร่วมมือในการขยายธุรกิจต่อไปในอนาคต การร่วมลงทุนใน CAP ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตปิโตรเคมีชั้นนำทำไทยออยล์สามารถก้าวเข้าสู่ธุรกิจโอเลฟินส์ได้อย่างรวดเร็วและทำให้โครงสร้างธุรกิจมีความสมบูรณ์ ครอบคลุมธุรกิจปิโตรเลียมและปิโตรเคมี

ทั้งนี้ไทยออยล์ได้ทำสัญญาเพื่อส่งผลิตภัณฑ์จากโรงกลั่นทั้งแนฟทาและแอลพีจี 1 ล้านตัน/ปีเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบให้กับ CAP และทำสัญญาเพื่อจำหน่ายพอลิเมอร์เรซิน (Polymer Resin) และผลิตภัณฑ์ในรูปของเหลวอื่นๆของ CAP อีกด้วย คาดว่ากระบวนการและการดำเนินการต่างๆในการเข้าร่วมลงทุนใน CAP จะแล้วเสร็จในเดือนกันยายน 2564

สำหรับการจ่ายเงินแก่ CAP จะแบ่งเป็น 2 ครั้งได้แก่ รอบแรกในเดือนก.ย.64 วงเงิน 913 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ​วงเงินส่วนนี้จะมาจากการกู้เงินระยะสั้น 18 เดือนอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 2.4 ประมาณครึ่งหนึ่งเป็นเงินกู้จากปตท.ที่เหลือมาจากสถาบันการเงิน ส่วนรอบที่ 2 จ่ายเงินกลางปี 2565 ประมาณ 270 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แผนการเงินเข้าลงทุนนั้น บมจ.ปตท.จะสนับสนุนทั้งเงินกู้ระยะสั้นและการเสริมสภาพคล่องโดยยืดระยะเวลาจ่ายหนี้น้ำมันจาก 30 วันเป็น 90 วันหรือเทียบเท่า 3 หมื่นล้านบาท.พร้อมทั้งไทยออยล์​จะขายหุ้นบริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน)หรือจีพีเอสซีประมาณร้อยละ 10.8 ให้ ปตท.เป็นวงเงินราว 20,000 ล้านบาทและไทยออยล์​จะเพิ่มทุนอีก 10,000 ล้านบาทกระบวนการทั้งหมดจะเสร็จสิ้นภายในกลางปีหน้า​​โดยท้ายสุดแล้วไทยออยล์จะคงอัตราส่วนหนี้สินต่อทุนในระดับที่เหมาะสมที่ 1 ต่อ 1 ได้​ และภาพรวมทั้งหมดก็ไม่ต้องขอเพิ่มวงเงินออกหุ้นกู้จากผู้ถือหุ้นอีกแต่อย่างใด
#2648



นายสุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย  (คปภ.) เปิดเผยว่า นับตั้งแต่สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในประเทศไทย เข้าสู่ระลอก 3 ที่กระจายไปทั่วเป็นวงกว้าง และเกิดคลัสเตอร์ใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สำนักงาน คปภ. ไม่ได้นิ่งนอนใจ ได้ออกคำสั่งนายทะเบียนที่เกี่ยวข้อง เพื่อรองรับมาตรการของรัฐบาลที่ได้ปรับให้สอดคล้องกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 และเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนผู้เอาประกันภัย

โดยการขยายความคุ้มครองของกรมธรรม์ประกันภัยที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ขยายความคุ้มครองการรักษาพยาบาลเนื่องจากการติดเชื้อโควิด-19 ในโรงพยาบาลสนามหรือ hospitel ให้ได้รับความคุ้มครองตามเงื่อนไขของกรมธรรม์ประกันภัย เช่นเดียวกับการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลทั่วไป และขยายความคุ้มครองกรณีผลกระทบจากการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ที่กระทำการโดยแพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรที่ได้รับการอนุญาตอย่างถูกต้องตามกฎหมายแห่งราชอาณาจักรไทย ไม่ว่าจะดําเนินการ ณ สถานที่ใดก็ตาม ให้ได้รับความคุ้มครองตามเงื่อนไขของกรมธรรม์ประกันภัย เช่นเดียวกับการฉีดวัคซีนในโรงพยาบาลทั่วไป  


อย่างไรก็ตาม สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในขณะนี้ยังคงไม่คลี่คลายและทวีความรุนแรงมากขึ้น ส่งผลให้มีจำนวนผู้ติดเชื้อรายวันเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้จำนวนเตียงรองรับผู้ป่วยติดเชื้อไม่เพียงพอ การเพิ่มโรงพยาบาลสนามหรือ hospitel ไม่ทันกับการเพิ่มจำนวนของผู้ป่วยติดเชื้อ และสิ่งที่สำคัญคือบุคลากรทางการแพทย์ที่ต้องทำงานหนักมาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน โดยมีหลายรายต้องติดเชื้อ ทำให้มีจำนวนไม่เพียงพอต่อการดูแลรักษาผู้ป่วยติดเชื้อ รัฐบาลจึงได้มีแนวทางปรับการรักษาผู้ป่วยติดเชื้อ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะนี้ โดยกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขได้ออกแนวทางการรักษาผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ให้ได้รับการดูแลรักษาแบบ Home Isolation หรือแบบ Community Isolation 

ประกันโควิด เจอ จ่าย จบ! รับเลย 100,000 บาท
ทั้งนี้ เมื่อตรวจสอบกรมธรรม์ประกันภัยสุขภาพและการประกันภัย โควิด-19 ที่มีอยู่ในปัจจุบัน พบว่า ยังไม่ครอบคลุมถึงกรณีการดูแลรักษาแบบ Home Isolation หรือแบบ Community Isolation ซึ่งย่อมทำให้ผู้เอาประกันภัยซึ่งเข้ารับการดูแลรักษาแบบ Home Isolation หรือแบบ Community Isolation ไม่สามารถเคลมประกันได้

ดังนั้น เพื่อความเป็นธรรมและให้ระบบประกันภัยเข้าไปบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน อีกทั้งเพื่อช่วยแบ่งเบาภาระของภาครัฐและบุคลากรทางการแพทย์ ล่าสุด  คปภ. จึงได้ประชุมหารือร่วมกับสมาคมประกันชีวิตไทย และสมาคมประกันวินาศภัยไทย

โดยได้ข้อสรุปร่วมกันว่า ระบบประกันภัยควรจะเข้าไปช่วยเหลือในเรื่องนี้ ตนในฐานะนายทะเบียนจึงได้ออกคำสั่งนายทะเบียนที่ 43/2564 เรื่อง การจ่ายค่ารักษาพยาบาลตามกรมธรรม์ประกันภัยสำหรับผู้เอาประกันภัยที่ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) หรือ "ประกันโควิด" และได้เข้ารับการดูแลรักษาพยาบาลแบบ Home Isolation หรือแบบ Community Isolation

สำหรับบริษัทประกันชีวิต และคำสั่งนายทะเบียนที่ 44/2564 เรื่อง การจ่ายค่ารักษาพยาบาลตามกรมธรรม์ประกันภัยสำหรับผู้เอาประกันภัยที่ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และได้เข้ารับการดูแลรักษาพยาบาลแบบ Home Isolation หรือแบบ Community Isolation

สำหรับบริษัทประกันวินาศภัย เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการให้ความคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัย ทั้งนี้ หากตรวจพบว่าผู้เอาประกันภัยติดเชื้อโควิด-19 ซึ่งมีการดูแลรักษาแบบดังกล่าว โดยกรณีกรมธรรม์ประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยนอก ให้สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลจากวงเงินความคุ้มครองผู้ป่วยนอกตามความจำเป็นทางการแพทย์และที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินผลประโยชน์ในกรมธรรม์ หรือกรณีตามกรมธรรม์ประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยในให้อนุโลมจ่ายค่ารักษาพยาบาลแบบการรักษาตัวเป็นผู้ป่วยนอก ตามความจำเป็นทางการแพทย์และที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินผลประโยชน์ในกรมธรรม์ ส่วนกรณีกรมธรรม์ประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลกรณีเป็นผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน ก็ให้อนุโลมจ่ายค่ารักษาพยาบาลแบบการรักษาตัวเป็นผู้ป่วยนอกตามความจำเป็นทางการแพทย์และที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินผลประโยชน์ในกรมธรรม์

นอกจากนี้ ยังให้บริษัทประกันภัยจ่ายค่าชดเชยรายวันกรณี Home Isolation หรือ Community Isolation หากมีความจำเป็นทางการแพทย์ที่ต้องรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในในสถานพยาบาล เช่น อยู่ในกลุ่มเสี่ยงแต่ไม่มีสถานพยาบาลรองรับ โดยจ่ายตามกรมธรรม์ประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองค่าชดเชยรายวัน สูงสุด 14 วัน นับแต่วันที่มีความจำเป็นทางการแพทย์ที่ต้องรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในในสถานพยาบาลแต่ไม่มีสถานพยาบาลรองรับ

อีกทั้งคำสั่งนายทะเบียนนี้ยังเปิดช่องให้บริษัทประกันภัยสามารถจ่ายเพิ่มเติมได้ตามที่เห็นสมควร นอกเหนือจากการจ่ายตามที่คำสั่งกำหนด โดยคำสั่งนายทะเบียนดังกล่าว มีผลใช้บังคับกับสิทธิเรียกร้องตามกรมธรรม์ประกันภัยที่บริษัทได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียน ซึ่งบริษัทออกให้แก่ผู้เอาประกันภัย ทั้งก่อนและหลังวันที่มีคำสั่ง (วันที่ 29 กรกฎาคม 2564) จนถึงวันที่ 30 กันยายน 2564


"การออกคำสั่งนายทะเบียนทั้งสองฉบับนี้ เป็นการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 สำหรับการดำเนินการต่อไปเพื่อให้ระบบประกันภัยสามารถรองรับความเสี่ยงในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้สอดคล้องกับมาตรการทางด้านสาธารณสุข สำนักงาน คปภ. จะได้เร่งส่งเสริมให้มีการพัฒนากรมธรรม์ประกันภัยให้ครอบคลุมถึงกรณีการดูแลรักษาแบบ Home Isolation หรือแบบ Community Isolation ต่อไป ทั้งนี้ หากต้องการสอบถามข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม สามารถติดต่อสอบถามได้ที่สายด่วน คปภ. 1186 หรือ Add Line Official @oicconnect"
#2649
ป้ายไฟวิ่ง LED เปลี่ยนข้อความผ่านมือถือ ใช้งานได้ทั้งภายในและภายนอก ทนแดด ทนฝน

ป้ายไฟวิ่งLED เปลี่ยนข้อความผ่านappมือถือ(เชื่อต่อทางwi-fi) หรือส่งผ่านระบบLAN  ขนาดป้าย 105x25cm ใช้งานได้ทั้งภายในและภายนอก ทนแดด ทนฝน มีให้เลือก 4สี แดง,เขียว,น้ำเงิน ราคา 2,900บาท และFull colors  ราคา4,200 บาท ใส่คำ,ข้อความ,วันที่,เวลา,รูปภาพต่างๆได้ ป้ายติดตั้งง่าย โครงสร้างแข็งแรงทนทาน

ทางร้านลงคำให้ฟรีในครั้งแรกและสอนวิธีการใช้งานให้ลูกค้าสามารถลงข้อมูลได้ด้วยตัวเอง แถมขายึดป้ายฟรี

สนใจติดต่อ 0945102033
Line :@gentech
หน้าร้านเซียร์รังสิต ชั้น1


#2650



เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2564 ที่ผ่านมา โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล จ.ภูเก็ต จัดเลี้ยงแสดงความยินดี มอบดอกไม้และของขวัญให้กับ "น้องเทนนิส" พาณิภัค วงศ์พัฒนกิจ นักกีฬาเทควันโด เจ้าของเหรียญทองกีฬาโอลิมปิก 2020 พร้อมด้วย "โค้ชเช" เช ยอง ซอก และสมาคมกีฬาเทควันโดแห่งประเทศไทย โดยมี ผศ.ดร.พิมล ศรีวิกรม์ นายกสมาคมเทควันโดแห่งประเทศไทย นำคณะมารับประทานอาหารริมหาดกมลา ภายใต้มาตรการการป้องกันโควิด-19 อย่างเคร่งครัด

โดยมี มิสเตอร์บียอร์น เคอร์ราจ ผู้จัดการทั่วไป โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัลภูเก็ต "วิว" เยาวภา บุรพลชัย นักกีฬาเทควันโดหญิงทีมชาติไทย เจ้าของเหรียญทองแดง การแข่งขันกีฬาโอลิมปิก 2004 ให้การต้อนรับในนามของ ฯพณฯ สุวัจน์ ลิปตพัลลภ อดีตรองนายกรัฐมนตรี ณ โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัลภูเก็ต


ในโอกาสนี้ นายสุวัจน์ ได้วิดิโอคอลจากกรุงเทพฯ กล่าวขอแสดงความยินดีกับความสำเร็จของสมาคมกีฬาเทควันโด แห่งประเทศไทย และขอแสดงความยินดี น้องเทนนิส ที่ประสบความสำเร็จได้เหรียญทองโอลิมปิก ที่โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ในครั้งนี้

"ผมดูตลอดเวลา ลุ้นอยู่จน 5 วินาที สุดท้าย และรู้สึกว่าเป็นชัยชนะที่ยิ่งใหญ่จริงๆ เป็นชัยชนะที่ทำให้พี่น้องประชาชนคนไทยมีความสุข โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตอนนี้พวกเราเจอกับปัญหาโรคโควิด พวกเราก็เครียดกัน พวกเรามีความทุกข์กัน แต่ความสุขที่เกิดขึ้นจากความสำเร็จของกีฬาเทควันโดที่ น้องเทนนิส สร้างขึ้นในครั้งนี้ ถือว่าได้สร้างขวัญกำลังใจให้กับพี่น้องประชาชน นอกจากที่จะมีความสุขกับกีฬาแล้วยังทำให้เกิดกำลังใจ ที่จะต่อสู้กับโควิด"

นายสุวัจน์ กล่าวขอแสดงยินดีกับความสำเร็จของ น้องเทนนิส ถือว่าเป็นนักกีฬาเทควันโด คนแรกที่ได้เหรียญทอง ในประวัติศาสตร์ นับตั้งแต่ "วิว" ได้เหรียญทองแดง ปี 2004 อันนี้ถือว่าเป็นชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ ก็ขอให้น้องเทนนิส ได้ประสบความสำเร็จยิ่งๆ ขึ้นไป และเป็นแบบอย่างของนักกีฬาที่ดี เป็นแบบอย่างให้กับเยาวชนคนไทย ที่จะได้เห็นแบบอย่างของพี่ๆ

และสำคัญที่สุด ถือว่าเป็นแบบอย่างของลูกที่กตัญญู ซึ่งผมประทับใจมากกับภาพที่น้องเทนนิสมาถึงภูเก็ต แล้วก้มลงกราบ คุณพ่อ และที่ให้สัมภาษณ์ ว่า ทุกครั้งที่ได้ชัยชนะกลับมาก็จะเอาเหรียญไปคล้องที่ภาพของคุณแม่ ซึ่งผมมีความประทับใจ


"ขอให้น้องเทนนิส มีความเจริญก้าวหน้าในวงการกีฬา อยากจะเห็นอีก 4 ปีข้างหน้า ไปคว้าเหรียญทอง เหรียญที่สองของโอลิมปิก จะได้เป็นประวัติศาสตร์ เป็นนักกีฬาคนแรกที่ได้ 2 เหรียญทอง

และถือโอกาสนี้ ขอบคุณโค้ชเช ด้วยถึงแม้จะไม่เป็นคนไทย แต่ได้ทุ่มเทให้กับวงการกีฬาของประเทศไทย ซึ่งหลายๆ ประเทศ อยากได้โค้ชเช ไปเป็นโค้ช แต่โค้ชเช ก็ไม่ไป บอกว่ารักเมืองไทย อยากอยู่เมืองไทย และก็สอนนักกีฬาเทควันโด มากว่า 20 ปี การที่โค้ชเช ได้อุทิศตนพัฒนากีฬาเทควันโด ทำให้ประสบความสำเร็จ ผมเชื่อว่าคนไทย ขอบคุณโค้ชเชทุกคน


ส่วนตัวผมทราบว่า โค้ชเช มีความประสงค์อยากขอสัญชาติไทยก็ขอให้ได้สัญชาติไทยตามที่ต้องการ เห็นว่านายกสมาคมได้เตรียมหลักฐานไว้ ครบเรียบร้อย ตามที่โค้ชเช บอกว่ารักเมืองไทย อยากอยู่เมืองไทย ทำให้คนทั้งโลกจะรู้สึกว่าเมืองไทยน่ารัก เมืองไทยน่าอยู่ อันนี้ต้องขอบคุณโค้ชเช"

นายสุวัจน์ กล่าวว่าสุดท้ายต้องขอขอบคุณ ผศ.พิมล ศรีวิกรม์ นายกสมาคมกีฬาเทควันโดแห่งประเทศไทย ที่ได้ทุ่มเททุกอย่าง ซึ่งเทควันโดตั้งแต่ปี 2004 ที่ "วิว" ได้เหรียญ และทุกครั้งโอลิมปิก ก็ได้เหรียญมาตลอด จนกระทั่งปีนี้ เป็นครั้งแรกที่ได้เหรียญทอง


"ต้องขอบคุณ ผศ.พิมล ศรีวิกรม์ ที่ได้สละทุนทรัพย์ กำลังกาย กำลังใจ ถือว่าเป็นนักธุรกิจตัวอย่าง ที่ทำประโยชน์ให้กับประเทศทางเศรษฐกิจ และได้มาช่วยกันพัฒนาวงการกีฬาชองชาติ ต้องขอขอบคุณทุกท่าน ขอให้พวกเราได้ ร่วมพลังกันในการพัฒนาวงการกีฬา ให้ประสบความสำเร็จ และให้การกีฬาได้มีส่วนสำคัญ ในการพัฒนาประเทศ และก็สร้างความสุข สร้างกำลังใจให้กับพี่น้องประชาชนของเรา ในการฝ่าฟันวิกฤตโควิดไปด้วยกัน"

ทั้งนี้ ในงานเลี้ยงอาหารริมหาดกมลา จัดภายใต้มาตรการการป้องกันโควิด-19 อย่างเคร่งครัด แต่ผ่อนคลายด้วยบรรยากาศริมชายหาดกับอาหารอร่อย โดยเฉพาะเมนูพิเศษสำหรับน้องเทนิส คือ ANDAMAN SEAFOOD PLATTER (อันดามันซีฟู้ด) ตามที่น้องบอกว่า "อยากทานซีฟู้ด" และปิดท้ายด้วยของขวัญ คือ "คุกกี้ช็อกโกแลต" ของโปรด"น้องเทนนิส"
#2651



ดร. สุวิทย์ เมษินทรีย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กล่าวในรายการ Spokesman Live ดำเนินรายการโดยนายธานี แสงรัตน์ อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ เกี่ยวกับโมเดลเศรษฐกิจ BCG (เศรษฐกิจชีวภาพ-หมุนเวียน-สีเขียว) ระบุว่า ถึงเวลาที่ไทยควรเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจจากการอาศัยปัจจัยการผลิตไปสู่การขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม 

ดร.สุวิทย์ กล่าวชี้ว่า ขณะเดียวกันยังมีประเด็นท้าทาย ได้แก่ 1.การติดกับดักรายได้ปานกลาง (Middle Income Trap) 2.การขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ที่ต้องตอบโจทย์โครงสร้างของไทยและของโลกไปพร้อมๆ กัน และ 3.การสร้างเศรษฐกิจที่เข้มแข็งจากภายใน เชื่อมไทยสู่ประชาคมโลก โดยเน้นความเท่าเทียม ลดความเหลื่อมล้ำ ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง และการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาแก้ปัญหาความท้าทายข้างต้นเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) ซึ่งแนวคิดนี้ได้ตกผลึกมาเป็นโมเดลเศรษฐกิจ BCG ที่สามารถจับต้องได้ และตอบโจทย์โลกในยุคโควิด-19


โมเดลเศรษฐกิจ BCG คือการนำการพัฒนาสังคม สิ่งแวดล้อม และภูมิปัญญามนุษย์ มารวมไว้ด้วยกัน เทคโนโลยี วิทยาศาสตร์และนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับ BCG เป็นสิ่งที่คนไทย นักวิทยาศาสตร์ หรือภาคเอกชนไทยลงทุนอยู่แล้วในระดับหนึ่งและไม่ใช่เทคโนโลยีที่ไกลตัว จึงควรให้ความสำคัญกับนโยบายที่ชัดเจนเพื่อยกระดับ BCG ให้เกิดเป็นรูปธรรมซึ่งจะส่งเสริมบทบาทไทยในประชาคมโลกด้วย 

ส่วนสำคัญของ BCG Model ที่ไม่ค่อยถูกพูดถึงคือ ความหลากหลายทางชีวภาพและวัฒนธรรมที่เรามีกระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาค ซึ่งแต่ละภาคก็มีเสน่ห์ที่หลากหลายลงไปสู่กลุ่มจังหวัด ซึ่งนายกรัฐมนตรีกำลังผลักดันโดยเรียกว่า " BCG เชิงพื้นที่" เพื่อให้กลุ่มจังหวัดมีความโดดเด่นในด้านต่าง ๆ เช่น การเกษตร สมุนไพร พลังงานชุมชน และนำไปสู่ความโดดเด่นเรื่องเมืองหลัก เมืองรองและการท่องเที่ยว เป็นต้น

นอกจากนี้ BCG ยังช่วยตอบโจทย์การเสริมสร้างความมั่นคงของมนุษย์ 4 ด้าน ได้แก่ 1.อาหารและการเกษตร 2.สุขภาพและการแพทย์ 3.พลังงาน วัสดุ และเคมีชีวภาพ และ 4.การท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ทำให้โมเดลเศรษฐกิจ BCG ลดความเหลื่อมล้ำในตัวเอง

ในปี 2565 ที่ไทยจะเป็นเจ้าภาพการประชุมเขตเศรษฐกิจเอเปค สิ่งสำคัญที่ไทยควรนำเสนอคือ โมเดลเศรษฐกิจที่เป็นการรวมตัวกันของภาคเอกชน ภาครัฐ และประชาชน ไทยต้องนำ BCG มาร้อยเรียงให้เป็นเรื่องราวตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งสิ่งเหล่านี้คือรูปธรรมที่จะตอบโจทย์สิ่งต่างๆ ได้

ดร.สุวิทย์ กล่าวทิ้งท้ายว่า BCG คือ ความหวังที่จับต้องได้ ทุกคนมีโอกาส มีส่วนร่วม และมองว่าไม่ใช่เรื่องไกลตัวที่ต้องรอรัฐบาลยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือ แต่เราสามารถร่วมมือกันที่จะเปลี่ยนแปลงประเทศได้

อย่างไรก็ตาม ติดตามชมรายการย้อนหลังแบบเต็มรายการได้ที่ : https://fb.watch/6WoAK98Zxo/
#2652




อาเซียนนัดประชุมต้น ส.ค.นี้ ติดตามแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจจากโควิด-19 พร้อมเดินหน้าเพิ่มบัญชีสินค้าจำเป็นที่ห้ามจำกัดส่งออก นอกเหนือจากยา และเวชภัณฑ์ ลุยเศรษฐกิจหมุนเวียน สร้างสภาพแวดล้อมด้านดิจิทัล และนัดคู่เจรจา 13 ประเทศ หารือเพิ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ติดตามผลอัปเกรดเอฟทีเอ การทำเอฟทีเอกับแคนาดา

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า อาเซียนได้กำหนดจัดประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านเศรษฐกิจอาเซียน หรือ SEOM ครั้งที่ 3/52 ในวันที่ 2-4 ส.ค. 2564 และการประชุมกับประเทศนอกภูมิภาค 13 ประเทศ ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ฮ่องกง สหรัฐฯ แคนาดา อินเดีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ รัสเซีย สหภาพยุโรป สหราชอาณาจักร และสวิตเซอร์แลนด์ ในวันที่ 5, 11 และ 16 ส.ค. 2564 ผ่านระบบประชุมทางไกล เพื่อเตรียมการสำหรับการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEM ครั้งที่ 53 ในเดือน ก.ย. 2564

ทั้งนี้ การประชุม SEOM จะมีการติดตามการดำเนินงานสำคัญของอาเซียน โดยเฉพาะการเร่งฟื้นเศรษฐกิจภูมิภาคจากการระบาดของโควิด-19 การอำนวยความสะดวกทางการค้าเพื่อรักษาและส่งเสริมความเชื่อมโยงของห่วงโซ่อุปทาน โดยพิจารณาขยายบัญชีสินค้าจำเป็นที่อาเซียนจะไม่จำกัดการส่งออกในช่วงโควิดเพิ่มเติมจากยา และเวชภัณฑ์ เช่น อาหาร รวมถึงการเพิ่มบทบาทอาเซียนเชิงรุกในการพัฒนาภูมิภาคให้ตอบรับกับแนวโน้มของโลก ไม่ว่าจะเป็นการเตรียมความพร้อมด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) การพัฒนาสภาพแวดล้อมเศรษฐกิจดิจิทัลในภูมิภาค เพื่อมุ่งไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจในระยะยาว เป็นต้น

นอกจากนี้ ที่ประชุมจะติดตามเร่งรัดการดำเนินงานตามแผนงานด้านเศรษฐกิจที่บรูไนฯ ในฐานะประธานอาเซียนผลักดันให้อาเซียนดำเนินการให้สำเร็จในปี 2564 ภายใต้แนวคิด "We care, we prepare, we prosper" ภายใต้ยุทธศาสตร์ 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการฟื้นฟู ด้านการเป็นดิจิทัล และด้านความยั่งยืน รวม 13 ประเด็น เช่น การจัดทำเครื่องมือในการประเมินมาตรการที่มิใช่ภาษี (NTMs) ของประเทศสมาชิกอาเซียน การจัดทำแผนฟื้นฟูการท่องเที่ยวหลังการระบาดใหญ่ของโควิด-19 และการจัดทำกรอบเศรษฐกิจหมุนเวียนสำหรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เป็นต้น

สำหรับการประชุมอาเซียนกับประเทศนอกภูมิภาค 13 ประเทศ จะเน้นการหารือเพื่อเพิ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างกัน และมีประเด็นที่ต้องติดตาม เช่น การทบทวนความตกลงการค้าสินค้าภายใต้กรอบความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-อินเดีย การเปิดเสรีสินค้าเพิ่มเติมภายใต้พิธีสารยกระดับความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-จีน และการเตรียมการเสนอรัฐมนตรีเศรษฐกิจพิจารณาความเป็นไปได้การเจรจาจัดทำความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-แคนาดา เป็นต้น

ทางด้านการค้าระหว่างไทยกับอาเซียนในปี 2563 มีมูลค่า 94,623.83 ล้านเหรียญสหรัฐ เป็นการส่งออกจากไทยไปอาเซียน 55,454.28 ล้านเหรียญสหรัฐ และนำเข้าจากอาเซียน 39,169.54 ล้านเหรียญสหรัฐ เกินดุลการค้า 16,284.74 ล้านเหรียญสหรัฐ และในช่วง 5 เดือนปี 2564 (ม.ค.-พ.ค.) การค้าระหว่างไทยกับอาเซียน มีมูลค่า 45,267.41 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 10.44% โดยไทยส่งออกไปอาเซียน 26,224.69 ล้านเหรียญสหรัฐ และนำเข้าจากอาเซียน 19,042.71 ล้านเหรียญสหรัฐ ตลาดส่งออกและแหล่งนำเข้าสำคัญของไทยในอาเซียน ได้แก่ มาเลเซีย เวียดนาม อินโดนีเซีย สิงคโปร์ และฟิลิปปินส์
#2653



ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในเว็บไซต์ของแฟลชแจ้งว่าได้งดรับพัสดุขนาด 10 กิโลกรัมหรือความยาวและความสูงแต่ละด้าน 100 ซม.หรือรวมกันไม่เกิน 150 ซม.เป็นการชั่วคราว ตั้งแต่วันที่ 21​ ก.ค.เป็นต้นไป สืบเนื่องจากการปิดศูนย์กระจายพัสดุวังน้อย รวมทั้งปิดบริการในพื้นที่ชั่วคราว

นางจรัสพักตร์  การปลื้มจิตต์ ผู้บริหารกลุ่มธุรกิจแฟลช เปิดเผยว่าในช่วงนี้จะงดรับสินค้าดังกล่าวเป็นการชั่วคราวไปก่อน ซึ่งเป็นพัสดุขนาดใหญ่อาทิ เฟอร์นิเจอร์ ทีวี อุปกรณ์แต่งบ้าน รวมทั้งพัสดุที่เป็นอาหาร จึงขอความร่วมมือลูกค้า เพราะติดเงื่อนไขเวลาในการขนส่งแม้ช่วงล็อกดาวน์ ภาคการขนส่งจะได้รับการยกเว้นให้ขนส่งข้ามจังหวัดได้ แต่ติดปัญหา เมื่อมีการตั้งด่านมีการตรวจเอกสาร ซึ่งบริษัทจะมีเอกสารแสดงต่อเจ้าหน้าที่อยู่แล้วก็ตาม แต่เข้าใจว่าเป็นการทำงานของเจ้าหน้าที่บางครั้งการทำให้ขนส่งมีความล่าช้าไป​ 3-4 ชม.ทำให้สินค้าได้รับความเสียหายได้ ซึ่งสินค้าขนาดใหญ่อย่างที่กล่าวข้างต้น จำนวนรถมีไม่เพียงพอกับการขนส่งเพราะพาร์ทเนอร์ขนส่งที่ทำงานกับแฟลช เป็นพาร์ทเนอร์ของขนส่งรายอื่นด้วยการขนส่งจึงมีความล่าช้าไปอีก ขณะที่ปริมาณพัสดุต่อวันที่รับตอนนี้ประมาณ 2 ล้านชิ้นและเพิ่มขึ้นในช่วงโควิดระบาด ยอมรับว่าครั้งนี้หนักจริงๆทำให้การขนส่งล่าช้า


นางจรัสพักตร์ กล่าวต่อว่า สำหรับการชดเชยค่าเสียหายจากศูนย์พัสดุวังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา คิดเป็นมูลค่า 80 ล้านบาท ขณะนี้บริษัทได้ส่งพนักงานเข้าไปกระจายพัสดุส่งไปถึงมือลูกค้าในภาคเหนือและอีสานแล้วจำนวน 30,000 ชิ้น ส่วนที่เหลืออีก 40,000 ชิ้นกำลังดำเนินการ ซึ่งเป็นพัสดุที่ส่งมาระหว่างวันที่ 16-31 ก.ค.64 มีความล่าช้าติดค้างในศูนย์กระจายสินค้าประมาณ 3 วันและในวันที่ 30 ก.ค.นี้จะเปิดศูนย์ฯวังน้อยได้ตามปกติ  ส่วนพัสดุที่ต้องส่งไปยังศูนย์กระจายสินค้าวังน้อยจะส่งไปยัง ศูนย์กระจายสินค้าที่บางนา จ.ชลบุรี จ.ระยองก่อน เป็นศูนย์ฯขนาดเล็กกว่าที่ศูนย์ฯวังน้อยซึ่งเป็นศูนย์ขนาดใหญ่ของแฟลชมีพื้นที่ 3.3 หมื่นตารางเมตร​ มีพนักงาน 600 คน มีผลตรวจว่าติดโควิดประมาณ 300คน และได้รับการกักตัวตามมาตรการของรัฐ ทั้งนี้พนักงานของแฟลชทั่วประเทศอยู่ที่ 27,000 คน ในช่วงนี้ต้องทำงานหนักบริษัทได้เพิ่มเงินอัดฉีด ขณะที่มีจำนวนพนักงานลาออกคิดเป็น 4% และรับพนักงานใหม่เพิ่มวันละประมาณ​ 300 คนอยู่แล้ว อย่างไรก็ตามการดูแลพนักงานเพื่อป้องกันโควิด มีระบบให้พนักงานเว้นระยะห่าง  แยกห้องรับประทานอาหาร ที่เรียกว่าเป็นระบบซีลบับเบิล และขอให้มั่นใจว่าพัสดุจะไม่ได้รับความเสียหายเพราะระบบการทำงานมีกล้องวงจรปิดตรวจสอบการทำงานตลอดเวลา
#2654
3in1 led 36pcs 1w led flat par light DJ DMX512 Stage Lighting   

ไฟเวที LED FLAT PAR สุดคุ้มการใช้ ปาร์ตี้, ดิสโก้, KTV, ผับ, ร้านอาหาร, สวน, สวนสาธารณะ, พลาซ่า เพิ่มความตื่นตาตื่นใจ ด้วยชุดไฟ วิบวับ  แค่ 990 บาท 

- 1 หลอดมีหลาย สี  RGB MiXED COLOR
- วัตต์: ประมาณ 36 x  วัตต์
- แรงดันไฟฟ้า: 110-220 - v
-แหล่งพลังงาน: AC
- สามารถใช้ได้กับเครื่องควบคุมสัญญาณไฟ DMX512 
- รูปแบบไฟเปลี่ยนได้ถึง 7 แบบ ได้แก่ ปล่อยอัตโนมัติ เปลี่ยนตามจังหวะดนตรี master-slave
- รับประกัน 1 เดือน

สนใจ ติดต่อสอบถามหรือสั่งซื้อสินค้า
โทร : 094-5102033
LINE :@gentech
หรือคลิก https://lin.ee/eYs6pVN


#ป้ายNeonflex #ป้ายไฟสั่งทำ #ป้ายเชียร์ #ป้ายร้าน #ป้ายไฟดัด #ป้ายไฟled
#lighting #ไฟled #ledonhome #ป้ายไฟ #ป้ายไฟร้าน #ราคาป้ายไฟ #อุปกรณ์ไฟ
#โคมไฟ #ไฟตกแต่ง #ไฟประดับ #ไฟดาวไลน์led #วิธีเปลี่ยนหลอดled #วิบวับ #laser






#2655



บริษัท วันดี โซลูชั่น จำกัด (OneDee Solution Co., Ltd.) ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้าน HR Tech และมีประสบการณ์ในงานบริหารบุคคลมากกว่า 10 ปี เปิดตัว Jobbee.work เว็บไซต์หางานสมัครงานโฉมใหม่ รวบรวมตำแหน่งงานมากกว่า 8,000 งาน พร้อมเป็นสื่อกลางให้ผู้สมัครงานและองค์กรเชื่อมต่อหากันอย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ ด้วยคอนเซ็ปต์ "Jobbee, the right key to the right job"


Jobbee.work พัฒนาฟีเจอร์ที่ตรงกับความต้องการสำหรับองค์กรและผู้หางานมากที่สุด ด้วยแดชบอร์ด แสดงผลภาพรวมการประกาศงานของบริษัททั้งหมด ออกแบบมาเพื่อให้ ดูง่ายน่าใช้งานแบบ Minimal Style โดยสามารถเลือกกรอกข้อมูลใด ก่อน-หลัง ก็ได้ และสามารถกรอกรายละเอียด งานจบได้ในหน้าเดียว และยังสามารถประกาศงานได้ทั้งบนสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต และเครื่อง PC และยังใช้เทคโนโลยี Talent Search ช่วยในการคัดกรองผู้สมัครได้ตามคุณสมบัติที่องค์กรต้องการ รวมถึงฟังก์ชั่นการสร้างโปรไฟล์สำหรับบริษัทเพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้องค์กร


สำหรับผู้หางาน เปิดโอกาสให้ผู้กำลังหางานได้เจองานที่ดีกว่า ขั้นตอนการสมัครงานง่าย ได้งานเร็ว เพียงกรอกข้อมูลให้ครบถ้วน ยังสามารถฝากเรซูเม่ในเว็บไซต์หางาน แบบ Multi Resume และเลือกตำแหน่งงานได้ตรงใจด้วยตัวเอง กับฟีเจอร์ Advanced Search ค้นหางานได้อย่างละเอียด สามารถกำหนดตำแหน่งงาน สถานที่ทำงาน เงินเดือน ประเภทในการจ้างงาน รวมถึงประสบการณ์ในการทำงานได้อย่างละเอียดขึ้นอีกด้วย 

เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้หางานและองค์กรเชื่อมต่อกันได้อย่างรวดเร็ว ให้คนเข้าถึงงาน องค์กรได้คนทำงานที่ตรงใจ จึงจัดโปรโมชันพิเศษสำหรับองค์กรเข้ามาประกาศงานฟรี 3 ตำแหน่ง ระยะเวลานานกว่า 60 วัน เว็บไซต์หางาน Jobbee.work หรือ โทร 085-1174290 
#2656

 
ที่สนาม ซัปโปโร โดม ประเทศญี่ปุ่น ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเกมส์ 2020 ประเภทฟุต.ชาย รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี กลุ่ม C วันที่ 25 ก.ค.64 ระหว่างทีมชาติ "ออสเตรเลีย" พบกับทีชาติ "สเปน" เริ่มเกมการแข่งขันในครึ่งเวลาแรก ในนาทีที่ 7 สเปนได้โอกาสลุ้นทักทายก่อนจากฟรีคิกริมกรอบเขตโทษฝั่งซ้าย เป็นโซเลร์ที่รับหน้าที่ปั่นด้วยขวาแต่.พุ่งชนกำแพง นาทีที่ 21 สเปนน่าได้ประตูขึ้นนำแบบสุดๆ จังหวะที่ปูอาโด้แทง.ให้โอยาร์ซาบัล สปีดหลุดไปทางกรอบฝั่งซ้ายก่อนจะซัดตามน้ำ แต่.พุ่งไปชนคานออกไป

เริ่มเกมการแข่งขันในครึ่งเวลาหลัง ในนาทีที่ 69 สเปน ยังพยายามบุกอย่างต่อเนื่อง คราวนี้น่าได้จากจังหวะที่โอยาร์ซาบัลยก.มาที่ริมกรอบเขตโทษ แล้วเป็นโอลโม่ได้เหลี่ยมซัดด้วยขวาทะลุบล็อคติดเซฟโกลเวอร์ กระทั่งนาทีที่ 80 สเปน ได้ประตูขึ้นนำ 1-0 จากจังหวะที่โอลโม่กระชากขึ้นมาแล้วไหลให้อเซนซิโอ้ทางริมกรอบฝั่งขวา เขาโยกเข้าซ้ายแล้วเปิดเข้ากลางให้โอยาร์ซาบัลเบียดขึ้นโหม่งเสียบเสาสองเข้าประตูไป จบเกม สเปน เอาชนะไป ออสเตรเลีย 1-0 ทำให้พวกเขามีเพิ่มเป็น 4 คะแนนจาก 2 นัด นำจ่าฝูงกลุ่ม C
#2657



สุธาสินี เสวตรบุตร นักเทเบิลเทนนิสหญิง เอาชนะ เอลิซาเบตา ซามารา จาก โรมาเนีย 4-1 เกม เข้ารอบ 16 คนสุดท้าย ประเภทเดี่ยว โอลิมปิก 2020 ที่ประเทศญี่ปุ่น วันจันทร์ที่ 26 กรกฎาคม

การแข่งขัน เทเบิล เทนนิส โอลิมปิก 2020 ณ สนาม โตเกียว เมโทรโปลิแทน ยิมเนเซียม ดำเนินมาถึงรอบ 3 ประเภทหญิงเดี่ยว ซึ่งมี 2 ตัวแทนของไทย สุธาสินี เสวตรบุตร กับ อรวรรณ พาระนัง ลงสนาม

ปรากฏว่า อรวรรณ วัย 24 ปี ต้านทาน คาซึมิ อิชิคาวา ดีกรีเหรียญเงิน ลอนดอน เกมส์ 2012 และเหรียญทองแดง ริโอ เกมส์ 2016 ไม่ไหว พ่ายไป 2-4 เกม 5-11, 11-5, 4-11, 11-6, 4-11 และ 8-11

ส่วนผลอีกคู่หนึ่ง สุธาสินี เสวตรบุตร มือ 41 ของโลก ออกแรง 29 นาที ปราบ เอลิซาเบตา ซามารา จอมเก๋าวัย 32 ปี 11-7, 11-6, 4-11, 11-8 และ 11-2 ยืนรอผู้ชนะระหว่าง มิมะ อิโตะ มือ 3 ของโลก กับ หยู ฟู่ จาก โปรตุเกส
#2658


นางมัลลิกา บุญมีตระกูล มหาสุข ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการนำไม้ยืนต้นมาเป็นหลักประกันการกู้เงินซึ่งเป็นนโยบายรัฐบาลว่า " กระทรวงพาณิชย์ ได้ออกกฎกระทรวงกำหนดให้ ไม้ยืนต้นเป็นทรัพย์สินที่ใช้เป็นหลักประกันได้ โดยประกาศราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2561 ซึ่งไม้ยืนต้นทุกชนิดใช้เป็นหลักประกันการกู้ยืมเงินได้ ขึ้นอยู่กับคู่สัญญาจะตกลงกันว่าจะใช้ไม้ยืนต้นประเภทใดหรือชนิดใดเป็นหลักประกัน ทั้งนี้กระทรวงพาณิชย์ โดยกรมพัฒนาธุรกิจการค้า มีหน้าที่เป็นสำนักงานทะเบียนหลักประกันทางธุรกิจ รับจดทะเบียนสัญญาหลักประกัน แก้ไขการจดทะเบียน และยกเลิกการจดทะเบียนสัญญาหลักประกันทางธุรกิจ ตามกฎหมายว่าด้วยหลักประกันทางธุรกิจ ตามที่สถาบันการเงิน ซึ่งเป็นผู้รับหลักประกันนั้นเป็นผู้ให้วงเงินสินเชื่อ และทำสัญญาหลักประกันทางธุรกิจ


ดังนั้น กฎหมายหลักประกันทางธุรกิจจึงเป็นกลไกสำคัญในการส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ประกอบธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจ
เอสเอ็มอี เข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายมากขึ้น สามารถนำทรัพย์สินที่มีมูลค่าอื่นที่ใช้ในการประกอบธุรกิจมาเป็นหลักประกันการชำระหนี้ได้โดยไม่ต้องส่งมอบทรัพย์สินนั้น" ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าว



นางมัลลิกา กล่าวว่า สำหรับไม้ยืนต้นทุกชนิด ที่ใช้เป็นหลักประกันการกู้ยืมเงินได้ เมื่อติดตามดูข้อมูล ณ วันที่ 23 กรกฎาคม 2564 สถิติการจดทะเบียน กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กองทะเบียนหลักประกันทางธุรกิจ ได้จดทะเบียนไม้ยืนต้นเป็นหลักประกันแล้ว จำนวน 125,911 ต้น จำนวนเงินที่เป็นหลักประกัน 134,829,112 บาท โดยส่วนใหญ่ใช้ไม้ยืนต้นประเภท ยาง ยางนา ยางพารา สัก มะขาม มะกอกป่า สะเดา ตะโก เป็นต้น นอกจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และธนาคารกรุงไทยที่รับไม้ยืนต้นเป็นหลักประกันแล้ว ยังมีผู้รับหลักประกันอื่นใช้ไม้ยืนต้นเป็นหลักประกัน จำนวน 5 ราย โดยผู้รับหลักประกันอื่นที่รับไม้ยืนต้นส่วนใหญ่เป็น

ผู้ประกอบธุรกิจให้สินเชื่อพิโกไฟแนนซ์ (สินเชื่อรายย่อยอเนกประสงค์) วงเงินกู้ไม่เกิน 50,000 บาท ต่อราย และพิโกพลัส (สินเชื่อรายย่อยอเนกประสงค์) วงเงินกู้ไม่เกิน 100,000 บาท ต่อราย



" อย่างไรก็ตาม นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ให้ติดตามอย่างใกล้ชิดและให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้ากระทรวงพาณิชย์คอยให้ข้อมูลประชาชน ทั้งนี้เพื่อให้เกิดประโยชน์และเป็นโอกาสของประชาชนในภาวะวิกฤต ซึ่งนับตั้งแต่มีการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 ถึงปัจจุบัน (23 กรกฎาคม 2564) มีการนำไม้ยืนต้นมาเป็นหลักประกัน จำนวน 32,133 ต้น จำนวนเงินที่เป็นหลักประกัน 4,559,112 บาท ทั้งนี้จะได้บูรณาการร่วมกันกับสถาบันการเงินเพื่อการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนและผู้ประกอบการเอสเอ็มอีได้ใช้กฎหมายและโครงการนี้เป็นโอกาสต่อไป" นางมัลลิกา กล่าว
#2659
แม่ค้าออนไลน์สั่งของจากไหนกันhttps://www.chatstickmarket.com/single-post/wheredoonlinesellersorderfrom

#2660


ร้านอาหารเป็นธุรกิจประเภทหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 อย่างหนักหนาสาหัส แม้เป็นสินค้าที่จำเป็นต่อชีวิตมากเพียงใดก็ตาม

หากอยากทราบว่าครึ่งปีที่ผ่านมาธุรกิจร้านอาหารแบรนด์ใหญ่ๆ เป็นอย่างไรกันบ้าง เอาตัวรอดกันด้วยกระบวนท่าไหน เจ้าหนึ่งที่น่าพูดคุยก็คือ บริษัท ไมเนอร์ ฟู้ด กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ 'ไมเนอร์ ฟู้ด' ซึ่งประกอบธุรกิจร้านอาหารทั้งคาวและหวานที่คนไทยคุ้นเคยและผูกพันหลายแบรนด์ ทั้ง The Pizza Company, Sizzler, Burger King, Swensen's, Dairy Queen, Bonchon, The Coffee Club และ Benihana ซึ่งรวมๆ แล้วแบรนด์เหล่านี้มีร้านในเมืองไทยเกือบ 1,600 สาขา และในต่างประเทศอีกเกือบ 800 สาขา


ปี 2563 โควิด-19 เล่นงานชาวโลกตั้งแต่ต้นปีจนถึงสิ้นปี นับเป็นปีที่ยากลำบากมากๆ ปีหนึ่งของธุรกิจร้านอาหาร แต่ไมเนอร์ ฟู้ด เป็นบริษัทที่โดดเด่น และทำผลงานได้ดี สามารถทำกำไรสุทธิได้ 1,500 ล้านบาท

สำหรับปี 2564 นี้ สถานการณ์ยากขึ้น แต่ไมเนอร์ ฟู้ด ทำยอดขายในไตรมาสแรกได้ 5,123 ล้านบาท เป็นกำไรสุทธิ 160 ล้านบาท ดีขึ้นกว่าไตรมาส 1 ของปีที่แล้วที่ขาดทุน 97 ล้านบาท ส่วนไตรมาสที่ 2 ซึ่งเป็นระลอกที่หนักที่สุดตั้งแต่เกิดการระบาดขึ้นในประเทศไทย ยังไม่ทราบว่าตัวเลขจะออกมาเป็นอย่างไร

ไทยรัฐออนไลน์ชวน ประพัฒน์ เสียงจันทร์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท ไมเนอร์ ฟู้ด กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) มาพูดคุย ถาม-ตอบ รีวิวครึ่งแรกของปี 2564 ว่ายากลำบากขนาดไหนสำหรับธุรกิจอาหาร ไมเนอร์ ฟู้ด สู้ด้วยอาวุธอะไร ผ่านมาในสภาพแบบไหน และชวนมองไปยังครึ่งปีที่เหลือว่าพอจะมองเห็นแสงสว่างหรือไม่ อย่างไร จะเดินต่อด้วยท่าทีและกลยุทธ์แบบไหน

ปี 2564 ครึ่งปีแรกของไมเนอร์ ฟู้ด เป็นอย่างไร
เป็นครึ่งปีที่เร็วที่สุดในชีวิต ผ่านไปครึ่งปีอย่างรวดเร็ว เพราะไม่มีเวลาหยุดคิดเลย เสร็จเรื่องนี้ต่อเรื่องนี้ เรื่องนี้จบต่อเรื่องนี้ไปเรื่อยๆ ผลประกอบการครึ่งปีแรก ถือว่าเป็นผลประกอบการที่เซอร์ไพรส์มาก เพราะว่าเราไม่ได้แพลน และไม่ได้เตรียมงบประมาณไว้ว่าจะมีการระบาดระลอกที่ 3 เราจัดทำงบประมาณของปี 2564 โดยคิดว่าตั้งแต่เดือนกรกฎาคมไปถึงสิ้นปี 2564 ทุกอย่างควรจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ แต่มันไม่เป็นไปตามนั้น เนื่องจากเกิดการระบาดระลอกที่ 3 ทำให้ผลประกอบการชะงักไปนิดหนึ่ง บางแบรนด์ทำยอดขายไม่ได้ตามที่ตั้งใจไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแบรนด์ที่อยู่ในพื้นที่ท่องเที่ยวคือ Burker King กับ The Coffee Club ยังไม่เปิดร้านประมาณ 30 กว่าสาขา

ใกล้จะหมดไตรมาสที่ 2 แล้ว พอจะเล่าได้ไหมว่าไตรมาสที่ 2 เป็นอย่างไร
ภาพรวมดีขึ้นพร้อมกับยังติดลบอยู่ เพราะว่าในเดือนเดียวกันของปีที่แล้วเคสการติดเชื้อต่ำแล้ว เรานั่งทานในร้านได้ 100 เปอร์เซ็นต์ แต่ในตอนนี้เรายังมีผู้ติดเชื้อวันละ 3,000 คน เรายังต้องมีการเว้นระยะห่างทางสังคม ความรู้สึกคนถ้าเห็นคนในร้านเยอะก็ยังไม่อยากเข้า กฎนั่งได้ 25 เปอร์เซ็นต์ยังไม่ถูกคลายล็อก บรรยากาศและสิ่งแวดล้อมภาพรวมยังไม่ดีขึ้นเท่าไร

ปีที่แล้วก็เจอโควิด-19 ไมเนอร์ ฟู้ด ทำอย่างไรให้ยังมีกำไร
ปีที่แล้วไมเนอร์ ฟู้ด น่าจะเป็นธุรกิจร้านอาหารบริษัทเดียวที่ perform ดี เพราะว่าเรามีช่องทางการจำหน่ายอาหารที่หลากหลาย เรามี 1.ไดน์อิน (Dine in) นั่งทานในร้าน 2.เดลิเวอรี่ (Delivery) บริการจัดส่ง ซึ่งเรามีแบรนด์ 1112 ของเราเอง และมีช่องทางของพาร์ตเนอร์ 3.เทกอะเวย์ (Take away) อาหารของไมเนอร์ ฟู้ด หลายหลายอย่างซื้อกลับไปกินที่บ้านได้ 4.ไดรฟ์ทรู (Drive through) ของ Burger King ช่องทางการจำหน่ายของเราไม่ได้ยึดติดกับตัวใดตัวหนึ่ง เมื่อมีปัญหานั่งกินในร้านไม่ได้ เราก็ไปขายอีก 3 ช่องทาง เราโชคดีที่วางช่องทางการจำหน่ายไว้หลากหลายและแข็งแกร่งทุกช่องทาง นั่นคือความต่างเมื่อเทียบกับแบรนด์อื่น ก็เลยทำให้ปีที่แล้วผลประกอบการออกมาดีกว่าสถานการณ์ที่เป็นอยู่



สถานการณ์ปีที่แล้วกับปีนี้มีความเหมือน และความต่างอย่างไร สามารถเอากลยุทธ์ที่ใช้ปีที่แล้วมาใช้กับปีนี้ได้ไหม มากน้อยอย่างไร
ใช้ได้ แต่ผลลัพธ์ไม่เท่าเดิม เรายังโฟกัสที่เดลิเวอรี่เหมือนเดิม แต่ปีที่แล้วเราให้โปรโมชั่นได้มาก ปีนี้เราก็ต้องผ่อนๆ ลง เพราะเราจะต้องดูแลเรื่องกำไรมากขึ้นด้วย การให้โปรโมชั่นมากเกินไปก็ไม่ได้แปลว่าดีเสมอไป เพราะทำให้ยอดขายโดยรวมไม่กลับมา

ตอบคำถามก็คือปีนี้กับปีที่แล้วทำคล้ายๆ กัน แต่ต้องหาวิธีการสื่อสารหลายช่องทางมากขึ้น ที่ว่าคล้ายๆ คือเราโฟกัสที่เดลิเวอรี่คล้ายๆ เดิม ปีนี้บริการ 1112 ของเราโตขึ้นมาก ปีที่แล้วเดือนพฤษภาคม 1112 ทำยอดขายได้ 59 ล้านบาท พฤษภาคมปีนี้ยอดขายเพิ่มเป็น 81 ล้านบาท เราโชคดีที่มี 1112 Delivery ของเราเอง แบรนด์อื่นๆ อาจจะต้องพึ่งพา Grab, foodpanda ซึ่งถ้าไปสัมภาษณ์เจ้าอื่นๆ ก็จะรู้ว่าขายดีไม่ได้แปลว่าได้กำไรดีนะ ถ้าพึ่งพาแพลตฟอร์มฟู้ดเดลิเวอรี่มากๆ เพราะค่าจีพีมโหฬาร นี่คือความต่างของเรา ซึ่งความต่างนี้ไม่ได้มาโดยบังเอิญ แต่มาจากการที่เราใส่โปรโมชั่นเข้าไปเยอะพอสมควร

เดลิเวอรี่คือความต่างที่สุดของเรา ปีนี้เราใช้ทรัพยากรไปที่เดลิเวอรี่เยอะขึ้น ความต่างเรื่องที่ 2 คือเรื่องการลงทุน เราตัดค่าใช้จ่ายทุกอย่างลง เรารู้ว่าการเปิดร้านไม่ได้แปลว่าจะมีคนเข้ามากเหมือนเมื่อก่อน ฉะนั้นการลดขนาดพื้นที่ร้านสัก 20 เปอร์เซ็นต์ ค่าใช้จ่ายในการสร้างร้านก็อาจจะลด 30 เปอร์เซ็นต์ นี่เป็นกลยุทธ์ที่จะผลักดันทุกแบรนด์ว่าจะต้องไม่ทำร้านใหญ่ๆ แล้ว ความต่างข้อที่ 3 คือบุคลากรหนึ่งคนจะต้องทำงานหลายงานมากขึ้น เราเพิ่มทักษะให้พนักงานสามารถดูแลงานได้มากขึ้น นี่คือความต่างที่เกิดขึ้นในช่วง 1 ปีที่ผ่านมาของไมเนอร์ ฟู้ด

เทียบสถานการณ์ปกติกับในช่วงโควิด-19 สัดส่วนช่องทางการขายเปลี่ยนเยอะไหม อย่างไรบ้าง
เปลี่ยนเยอะมากๆ ช่องทางเดลิเวอรี่เป็นฮีโร่ไปแล้ว แต่ถ้านั่งในร้านได้ไดน์อินก็จะกลับมาเป็นฮีโร่ ถ้าสถานการณ์ปกติยอดขายไดน์อินเป็น 60 เปอร์เซ็นต์ ส่วนเดลิเวอรี่บวกเทกอะเวย์บวกไดรฟ์ทรูเป็น 40 เปอร์เซ็นต์ แต่ในสถานการณ์ที่ไม่ปกติ ไดน์อินตกลงมาเหลือน้อยกว่า 20 เปอร์เซ็นต์ ฝั่งเดลิเวอรี่, เทกอะเวย์ และไดรฟ์ทรู ขึ้นมาเป็น 80 เปอร์เซ็นต์

สัดส่วนการพึ่งพาแพลตฟอร์มเดลิเวอรี่เจ้าอื่นกับ 1112 บริการเองเป็นอย่างไร
พาร์ตเนอร์เรายังมีอัตราส่วนยอดขายค่อนข้างสูง และเรามีหลายเจ้าที่เป็นพาร์ตเนอร์ที่ดีและน่ารักกับเราอยู่ สัดส่วนเป็น 1112 เองสัก 25-30 เปอร์เซ็นต์ ปีที่แล้วมี 5 เปอร์เซ็นต์เอง ตอนนี้หลายๆ แบรนด์ก็กำลังพยายามที่จะโต



ครึ่งปีหลังจะโฟกัสอะไร
เรารอการกลับมาของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติมากๆ ที่นายกฯ ประกาศว่าอีก 120 วันจะเปิดประเทศ เป็นข่าวดีมากๆ ไม่รู้ว่าจะจริงหรือไม่จริง แต่รู้สึกว่าเป็นวิชั่นที่ดี พอมีกำหนดคนก็เริ่มรู้สึกมีเป้าหมาย 120 วันจะเป็น game changer วิธีคิดของพวกเรา และอีกอย่างหนึ่งที่เรารอก็คือเราอยากให้พนักงานของเราได้ฉีดวัคซีนให้เร็วที่สุดครับ

ระหว่างมีกับไม่มีกำหนดเปิดประเทศ กลยุทธ์ที่เตรียมไว้ต่างกันอย่างไรบ้าง
ต่างกัน เพราะว่าตอนนี้เรามุ่งเน้นไปที่การพัฒนาแพ็กเกจจิ้งเพื่อจัดส่งเดลิเวอรี่ให้ได้ แต่ถ้าจะเปิดประเทศเราต้องไปดูเรื่องการพัฒนาโปรดักต์สำหรับคนต่างชาติ ร้าน 80 กว่าสาขาในสนามบินที่ปิดอยู่ในตอนนี้ก็จะกลับมาเปิด ซึ่งร้านในสนามบินมีโจทย์ที่ต่างจากร้านข้างนอก เพราะลูกค้าเร่งรีบ เมนูอาหารก็ต้องสามารถทำได้อย่างรวดเร็ว

ในตอนที่ยังไม่แน่ชัดว่าจะเปิดหรือไม่เปิด เราก็ต้องบาลานซ์ทั้ง 2 ทาง ถึงแม้จะยังไม่มีการคอนเฟิร์มว่าเปิดจริงหรือไม่จริง เราก็ต้องเตรียมไว้ตั้งแต่วันนี้ แต่ต้องเตรียมแบบระวัง ไม่ได้เตรียมแบบมีค่าใช้จ่ายเพิ่ม เราคงไม่ลงทุนอะไรมากมาย

ครึ่งปีที่ผ่านมาแบรนด์ไหนทำยอดขายดี-เป็นฮีโร่
ก็ยังเป็นแบรนด์ใหญ่ของเรา The Pizza Company ส่วน Bonchon มีการขยายสาขาหลายสาขา และที่ดีในช่วงโควิด-19 ตลอดก็คือ Burger King เพราะมีช่องทางไดรฟ์ทรูที่แข็งแรง และมีเดลิเวอรี่ที่ค่อนข้างแข็งแรง ยอดขายไดน์อินที่หายไปก็เลยไม่ได้ส่งผลกระทบต่อยอดขายรวมมากนัก

การขยายสาขาในช่วงโควิด-19 พิจารณาเลือกทำเลที่ตั้งอย่างไรว่าจะเข้าไปอยู่ตรงไหน
ถ้าในช่วงโควิด-19 ก็เป็นการมองระยะสั้น และคิดว่าการมองระยะสั้นนั้นอาจจะทำให้มันโตอย่างต่อเนื่องก็ได้ โดยที่เราดูว่าพื้นที่ตรงนั้นมีที่อยู่อาศัยหรือเปล่า ต้องดูว่าเดลิเวอรี่สามารถอยู่ตรงนี้ได้ด้วยหรือเปล่า ถ้าจะไปตั้งอยู่ใกล้ทะเล รอบๆ มีแต่นักท่องเที่ยว ไม่ได้เป็นย่านที่อยู่อาศัย ก็ต้องหยุดก่อนจนกว่านักท่องเที่ยวจะกลับมาปกติ

ทั้งภาพรวมตลาดธุรกิจอาหารครึ่งปีที่ผ่านมาเป็นอย่างไร
ไม่รู้เลยว่าแบรนด์อื่น-บริษัทอื่นเป็นอย่างไร แต่เท่าที่คุยกับเพื่อนที่ทำธุรกิจอาหารไม่มีแบรนด์ไหนดี ช่วงระลอกที่ 3 หนักกว่ารอบที่ 1 กับ 2 เพราะมันกินเวลานาน เกือบ 3 เดือนแล้วที่ยอดขายของเราค่อนข้างหนัก แต่ต้องถือว่าเป็นความโชคดีของเราคือ ไมเนอร์ ฟู้ด มีธุรกิจในประเทศอื่น ในขณะที่ไมเนอร์ ฟู้ด ที่ไทยกำลังยากลำบาก ไมเนอร์ ฟู้ด ที่จีนกำลังทำยอดขายดีมาก โตขึ้นมาเป็น 3-4 เท่าจากเดิม เพราะตอนนี้จีนกลับมาปกติแล้ว ออสเตรเลียก็เกือบปกติแล้ว ยอดขายจากจีนและออสเตรเลียก็เลยมาช่วยไทย กลับกันกับเมื่อปีที่แล้วยอดขายในไทยช่วยยอดขายประเทศอื่นทั้งโลกเลย แต่อัตราส่วนยอดขายในไทยเป็น 60 เปอร์เซ็นต์ของไมเนอร์ ฟู้ด เพราะฉะนั้นเวลาเราแย่มันก็แย่หนัก


สามารถเรียนรู้จากต่างประเทศมาปรับใช้ได้ไหม มากน้อยแค่ไหน หรือว่าสถานการณ์ต่างกันมากจนไม่สามารถปรับใช้ได้
เรื่องโรคระบาดเราใช้ประเทศจีนเป็นต้นแบบ ช่วยให้เรารู้ว่าเฟส 1 ของการระบาดเป็นอย่างไร เฟส 2 ต้องเตรียมคนอย่างไร เฟส 3 ทำอย่างไร เราใช้โมเดลของจีนมาปรับใช้ แต่ตอนนี้ไม่ค่อยได้คุยกันว่าแต่ละประเทศควรจะทำตามกันหรือเปล่า เราบริหารค่อนข้างเอกเทศ ไม่ได้ใช้โมเดลเดียวกันมากมาย

สิ่งที่ยากที่สุดของไมเนอร์ ฟู้ด ในสถานการณ์โควิด-19 คือการไม่มีนักท่องเที่ยว หรืออะไร
การไม่มีนักท่องเที่ยวไม่เท่าไร เรื่องแรกคือเราอยากได้ความมั่นใจว่าเราจะได้รับวัคซีนครบเมื่อไหร่ ถึงแม้ต่างชาติยังไม่เข้ามา แต่เราจบในประเทศเราให้ได้ก่อน พอเรื่องนี้ผ่านไปแล้วจะเปิดประเทศให้ต่างชาติกลับเข้ามา ก็เป็นสัญญาณที่น่าจะสดใส

คาดหวังว่าการเปิดประเทศตามที่นายกฯ บอกจะส่งผลต่อผลประกอบการปีนี้มากแค่ไหน
อีก 120 วันก็เกือบหมดปีพอดี คิดว่าคงเป็นไปตามเป้า แต่อาจจะไม่ได้บรรลุสิ่งที่เป็นเป้าหมายหลัก เพราะถ้าจะบรรลุเป้าหมายหลักคือเราควรจะเปิดประเทศตั้งแต่ไตรมาสที่ 3 เป็นต้นไป แต่ท่านนายกฯบอกว่าอีก 4 เดือน ถ้านับไปก็เปิดประเทศเดือนพฤศจิกายน ปีนี้เราก็จะได้ยอดขาย 2 เดือน แต่ความสดใสที่เห็นชัดเจนก็คือปีหน้า

ตั้งเป้ารายได้และกำไรปีนี้ไว้เท่าไร
กำไรก็ยังมั่นใจว่าส่งได้ตามที่ตั้งเอาไว้แน่นอน เป็นตัวเลขที่เราคอมมิทกับบอร์ดบริหารไว้แล้วว่าจะส่งเท่าไรก็คงจะต้องส่งเท่านั้น ส่วนยอดขายอาจจะยากนิดหนึ่ง ก็ต้องมาลดค่าใช้จ่าย ต้องเข้มงวดมากขึ้น ที่อยากได้ที่สุดก็คือเรื่องการลดค่าเช่า เพราะว่าเป็นค่าใช้จ่ายหลักอันหนึ่งของเรา ซึ่งเราก็เจรจาตลอด ยอมรับว่าแลนด์ลอร์ดก็น่ารักกับไมเนอร์ ฟู้ด ช่วยเหลือกันดีมาตั้งแต่รอบแรก ต้องขอบคุณทุกท่าน ถ้าได้มากกว่านี้ก็จะขอบคุณมาก

พอช่องทางการขายหลักอยู่ที่เดลิเวอรี่ปรับเปลี่ยนการมองและนิยาม 'คู่แข่ง' ไหม มองว่าแข่งกับร้านเล็กในชุมชนด้วยหรือเปล่า หรือยังมองแค่เชนใหญ่ด้วยกัน
ไม่ เราอาจจะมีคู่แข่งที่เป็นร้านดังๆ ที่มีอยู่แค่สาขาเดียวหรือ 2 สาขาก็ได้ ไม่จำเป็นจะต้องเป็นเชนใหญ่เหมือนกัน ไม่ใช่ว่า Bonchon จะแข่งแต่กับไก่เกาหลีเหมือนกัน เราอาจจะแข่งกับไก่ทอดหาดใหญ่คิวยาวๆ ก็ได้ วิธีการมองคู่แข่งก็เปลี่ยนไปหมด Sizzler มีสลัด แต่เดี๋ยวนี้สลัดก็เต็มไปหมด อย่าง Salad Factory และ Jones Salad หรืออย่าง โอ้กะจู๋ นั่นก็คือคู่แข่งรายใหม่ ซึ่งเขามีอยู่ไม่กี่สาขา แต่เราถือว่าเป็นคู่แข่งหมด


แต่แบรนด์ใหญ่น่าจะยังได้เปรียบในแง่ที่มีสาขาเยอะ ครอบคลุมหลายพื้นที่ และมีกำลังในการทำโปรโมชั่น
แต่ความเสี่ยงก็เยอะ ถ้าสถานการณ์ไม่ดีปุ๊บมันก็หนัก เพราะว่าต้นทุนเยอะ แต่พอฟื้นตัวกลับมา มันก็อาจจะเป็นแบรนด์ที่โตขึ้นมาเร็วที่สุดด้วยเช่นเดียวกัน เนื่องจากสาขามันกระจายตัว

เทียบกันระหว่างปีที่แล้วกับปีนี้ ปีนี้ยากกว่าและความเปลี่ยนแปลงเยอะกว่าใช่ไหม
ปีนี้ยากกว่าเยอะ แต่ว่าเราก็มีต้นแบบมาจากปีที่แล้ว ปีที่แล้วเราคิดอะไรไม่ออกเลยว่าโควิด-19 คืออะไร จะฉีดวัคซีนเมื่อไหร่ ฉีดแล้วจะเกิดอะไรขึ้นไหม แต่ตอนนี้ทุกอย่างคลี่คลายไปทีละเปลาะๆ ตอนนั้นมืดไปหมด แต่ตอนนี้เราคิดว่าอีก 120 วันก็จบแล้ว

จะนิยามครึ่งปีที่ผ่านมาอย่างไร บรรยากาศมืดมัวประมาณไหน
ตั้งแต่มกราคมก็สะลึมสะลือมา เพราะมีการระบาดอีกระลอกตั้งแต่ปลายปี 2563 แต่มามืดสนิทก็คือตอนเดือนเมษายน ตอนนี้ ณ วันที่ 18 มิถุนายน รู้สึกว่าเริ่มสว่างขึ้น และจากข่าวที่เปิดให้นั่งทานในร้านได้มากขึ้น และขยายเวลาเปิดร้านมากขึ้นก็เป็นข่าวที่ทำให้ทุกอย่างผ่อนคลายขึ้น ก็มีความหวังครับ

ภาพโดย ชุติมน เมืองสุวรรณ